จากบทความเรื่องของสตาร์ทเตอร์ที่ตัวถัง หรือปลอกหุ้มแตกเสียหาย ก็มีคำถามเกี่ยวกับตัวสตาร์ทเตอร์มา ถามว่าสตาร์ทเตอร์กระพริบ แต่หลอดฟลูออเรสเซนต์ ในโคมไฟไม่ติดสักที ทำยังไงดี อะไรเสียกันแน่ แก้ยังไง เปลี่ยนอะไร ชิ้นไหนมาดูคำอธิบายกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อน กับสามสิ่งที่ประกอบกันขึ้นมาเป็น โคมไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เราใช้ๆ กันอยู่ และยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นบัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์ ในวงจรนั้นจะมี หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์, สตาร์ทเตอร์ และบัลลาสต์ แน่นอน และทั้งสามสิ่งเกี่ยวพันกันเสมอ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสีย หลอดไฟก็ไม่ติด, หลอดไฟติดแต่ไม่สว่าง, หลอดไฟกระพริบ และอาจจะมีนอกเหนือจากนี้ ทีนี้เรามาแยกพูดถึงแต่ละชิ้นเลยดีกว่า
สตาร์ทเตอร์ คือ อะไร?
ความจริงแล้ว เจ้าตัวสตาร์ทเตอร์นี่ทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิทช์ไฟ แบบชั่วคราวของวงจร ทำหน้าที่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเริ่มต้นเท่านั้น เราก็เลยเรียกมันว่า สตาร์ทเตอร์ การทำงานของเจ้านี่ เริ่มต้นเมื่อเราเปิดสวิทช์ไฟ หน้าสัมผัสของตัวสตาร์ทเตอร์ในกระเปาะแก้ว ก็จะร้อนจนสัมผัสกัน ไฟก็จะไหลผ่านตัวสตาร์ทเตอร์ ไปกระตุ้นให้ไส้หลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ทำงานได้ เมื่อไส้หลอดร้อน เริ่มทำงานได้ เจ้าสตาร์ทเตอร์ก็ตัดพอดี ซึ่งระยะเวลาการทำงานของตัวสตาร์ทเตอร์นี่ประมาณ 1-2 วินาทีเท่านั้น แต่ถ้าไส้หลอดยังไม่ร้อน อิเล็คตรอนในหลอดไฟยังไม่วิ่ง ก็จะเกิดการทำงานของสตาร์ทเตอร์ซ้ำอีกครั้ง เราจึงเห็นว่าสตาร์ทเตอร์กระพริบ
บัลลาสต์ คือ อะไร?
บัลลาสต์ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟ ให้ไหลในวงจรอย่างพอดีๆ อธิบายง่ายๆ แบบนี้แหละ สั้นๆ ได้ใจความ แต่บัลลาสต์แบบขดลวดอย่างที่เราใช้งานกันอยู่มากมายตามบ้านในปัจจุบัน และยังไม่เปลี่ยนไปเป็นบัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์นั้น สร้างความร้อนภายในโคมไฟมากทีเดียว ซึ่งไม่มีประโยชน์เลย เพราะเราต้องการแสงสว่าง ไม่ใช่ฮีทเตอร์สักหน่อย เดี๋ยวบทความต่อไป จะมาพูดถึงการเปลี่ยนบัลลาสต์กันบ้าง
หลอดฟลูออเรสเซนต์ คือ อะไร
ไม่ต้องอธิบายกันมากมาย หลอดไฟกลมๆ ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่หลอดชนิดนี้ เสียบไฟ แล้วจะไม่ติดทันทีเหมือนกันหลอดไส้ หรือหลอดหลอดอินแคนเดสเซนต์ จึงต้องมีตัวช่วย เป็นสตาร์ทเตอร์ และบัลลาสต์อย่างที่บอกเล่ามาแล้วนั่นเอง

อย่างที่บอกไปแล้วว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์ ต้องมีตัวช่วยกระตุ้นหลอดไฟ ทำให้อิเล็คตรอนวิ่งให้ได้ แต่ถ้าหลอดไฟเสีย ตัวสตาร์ทเตอร์ไม่รู้หรอก มันจะทำงาน ติด-ดับ-ติด-ดับ ไปเรื่อยๆ วนไปเรื่อยๆ นั่นแหละ เราจึงมักจะเห็นว่า หลอดฟลูออเรสเซนต์ก็กระพริบ (กระพริบห่างๆ ตามการกระพริบของสตาร์ทเตอร์ แต่ไม่ติดสักที ไม่กระพริบแบบถี่ยิบ เหมือนกับ หลอดฟลูออเรสเซนต์เสียๆ อิเล็คตรอนวิ่งไม่ต่อเนื่อง จะกระพริบถี่ๆ) และตัวสตาร์ทเตอร์ก็กระพริบ ในกรณนี้แบบนี้ ให้ตรวจเช็คสภาพของหลอดฟลูออเรสเซนต์ก่อนเลยว่าขั้วดำหรือไม่ ซึ่งปกติเกิดจากหลอดไฟเสื่อมไปตามอายุการใช้งานนี่แหละ
ถ้าสตาร์ทเตอร์เสีย จะมีอาการนิ่ง คือไม่มีการตอบสนองใดๆ เมื่อเราเปิดสวิทช์ไฟ ซึ่งตัวสตาร์ทเตอร์ทุกตัวจะถูกครอบด้วยพลาสติก ถ้าเป็นพลาสติกทึบแสง เราก็มองไม่เห็น หรือเห็นแสงกระพริบที่ตัวสตาร์ทเตอร์ขณะทำงานไม่ชัดเจน แต่ถ้าพลาสติกเป็นแบบใสๆ สีฟ้า ก็จะมองเห็นได้ง่ายหน่อย ถ้าสตาร์ทเตอร์เสีย ก็จะไม่ทำงาน แสงกระพริบน้อยๆ ที่เกิดจากหน้าสัมผัสในตัวสตาร์ทเตอร์ต่อกัน ก็จะไม่มี ไม่เห็น และถ้าถอดครอบพลาสติกออกมาดู จะมองแทบไม่เห็นหน้าสัมผัสเลย เพราะมีความดำปกคลุมไปทั่วทั้งกระบอกแก้ว
ส่วนบัลลาสต์ เป็นชิ้นส่วนสุดท้าย ที่เสียหายยากที่สุด โคมไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ บางแห่งที่พบมา บัลลาสต์ถูกฝน ขึ้นสนิมเขรอะก็ยังใช้งานได้อยู่ ทนทานขนาดนั้นทีเดียว แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีปัญหา โดนเฉพาะปัญหาเรื่องของเสียงคราง อย่างที่เคยเขียนบทความไปแล้วในเรื่องโคมไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ มีเสียงดัง ซึ่งปัญหาเกิดจากบัลลาสต์ ซึ่งต้องตรวจเช็คก่อนที่จะลงมือแก้ไข
ดังนั้น ชิ้นส่วนไหนในโคมไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่เสียหายง่ายที่สุด และควรจะตรวจเช็คก่อนเลย เมื่อเกิดปัญหาหลอดไฟไม่ติด ก็คือ หลอดไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ้าลองตรวจสอบที่ขั้วสายไฟว่าแน่นหนาดีแล้ว หรือลองเปลี่ยนหลอดแล้ว ไม่ติดเหมือนเดิม ค่อยไปดูตัวสตาร์ทเตอร์ และสุดท้ายที่ปัญหาน้อยที่สุดและมีความเป็นไปได้ต่ำมากคือ บัลลาสต์ครับ บางทีเราก็คาดเดาชิ้นส่วนที่เสีย จากที่เราเห็นภายนอกได้อยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องขั้วดำของหลอดไฟ และกระบอกแก้วของสตาร์ทเตอร์ได้เหมือนกัน แต่วิธีที่ง่ายที่สุด แม่นยำที่สุด จึงเป็นการตรวจสอบ ด้วยการเปลี่ยนแทนที่เพื่อทดสอบครับ
งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
วิธีเปลี่ยนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ แทนที่บัลลาสต์แกนเหล็ก
บัลลาสต์แกนเหล็กเดิมๆ เมื่อใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสื่อมของอุปกรณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมาจะแสดงออกด้วยเสียงครางดังๆ รบกวนตลอดเวลา และเคยเขียนบทความไปแล้วเรื่องโคมไฟฟลูออเรสเซนต์มีเสียงดัง และวิธีการแก้ไข มาวันนี้ เลยอยากจะชักชวน ไหนๆ ...

เปลี่ยนสายน้ำดีน้ำเข้าและสายน้ำดีน้ำออก ให้กับเครื่องทำน้ำอุ่น
สายน้ำดี สายยางเส้นเล็กๆ สั้นๆ สำหรับต่อเข้าเครื่องทำน้ำอุ่น และต่อออกจากเครื่องทำน้ำอุ่น มีให้เลือกอยู่หลายชนิด แยกตามประเภทวัสดุที่ใช้ผลิต และในหลายๆครั้งที่เราเลือกซื้อสายน้ำดี เราก็มักจะมองเพียงภายนอก เพราะพิจารณาได้เห็นภาพที่สุดแล้ว ...

ล้างหัวฝักบัวอาบน้ำ ทำความสะอาดได้ ล้างได้หมดจด
วันนี้มาดูวิธีล้างหัวฝักบัวอาบน้ำกันดีกว่า เพราะเชื่อแน่ว่าปัญหา หัวฝักบัวสกปรก เลอะเทอะจากคราบหินปูนสะสม หรือสิ่งสกปรกไปเกาะ ไปหลบอยู่ภายในหัวฝักบัว ทำให้สายน้ำที่ควรจะไหลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และไหลออกมาจากรูทุกๆ รูของหัวฝักบัวเท่าๆ ...

ผงล้างท่อตัน ผงระเบิดท่อ ผงล้างท่อ ชื่อไหนๆ ก็ใช้ผงฟูแทนได้ แค่อาศัยแรงดันก๊าซ
ผงล้างท่อตัน ผงระเบิดท่อ ชื่อนี้ เห็นมีขายอยู่ในร้าน ออนไลน์เป็นจำนวนมากๆ มีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ วิธีใช้งานที่บอกเอาไว้คือ เทใส่ลงไปในท่อน้ำที่มีปัญหาอุดตัน น้ำไหลช้า เติมน้ำลงไป ...

สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า เสีย ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ
ที่บ้านสวน ใช้น้ำบาดาล โดยใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบขึ้นมาเก็บไว้ในโอ่ง แล้วค่อยดูดผ่านปั๊มน้ำอัตโนมัติไปใช้งานภายในบ้านอีกทีนึง ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง อาศัยสวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้า ในการควบคุม ซึ่งลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ เป็นชนิดมีตุ้มน้ำหนักสองตุ้ม ...

ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...

ก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า น้ำไหลช้า และไม่มีฟองอากาศฟู่ ฟูนุ่ม แก้ได้
เราได้สังเกตกันบ้างหรือไม่ว่าก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า ก๊อกน้ำอ่างล้างจาน หรือแม้กระทั่งก๊อกสนามบางตัว โดยเฉพาะก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า หรืออ่างล้างมือ จะพบว่าน้ำที่ไหลออกมาจากตัวก๊อกจะมีฟองอากาศผสมอยู่ด้วย ไม่ได้มีแค่น้ำอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อช่วยเราในเรื่องการประหยัดน้ำ แต่ก็ให้ผลในเรื่องของความนุ่มนวลของน้ำด้วย น้ำจะไม่พุ่งออกมาอย่างแรงเหมือนก๊อกสนาม ...

ยูเนี่ยน PVC ใช้ทำอะไร? และ ใช้ยังไง?
ยูเนี่ยน PVC ใช้ทำอะไร? และ ใช้ยังไง? ช่างจะรู้เรื่องนี้ดีว่า ใช้ยังไง ใช้ทำอะไร แต่เชื่อว่า มือใหม่อีกเป็นจำนวนมากๆ ...

ทำไมขาปลั๊กเสียบ ขาแบน 2 ขา มี 2 รู และเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง
ปลั๊กเสียบขาแบนๆ มีเรื่องให้คุยกันเยอะทีเดียว ตั้งแต่เรื่องรูบนขาปลั๊ก มีเอาไว้ทำไม ซึ่งผมได้เขียน และอธิบายเอาไว้แล้วในบทความ ทำไม ปลั๊กเสียบ(ปลั๊กตัวผู้) เต้าเสียบ หรือขาปลั๊กเสียบ ...

อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า ใช้ก๊อกน้ำอ่างล้างจาน ชีวิตก็ง่ายขึ้น
งานช่าง หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป เรามักจะคุ้นเคยกับสิ่งที่เคยผ่านตามา มองเห็น และจดจำ จนในที่สุด ไม่ค่อยมีใครกล้าที่จะเปลี่ยน และไม่คิดว่ามันจะทำได้ ...

วิธีประกอบพัดลมติดผนัง และรีวิว พัดลมติดผนัง Sharp รุ่น PJ-WA163
วิธีประกอบพัดลมติดผนัง พร้อมกับการรีวิว แต่ถ้ารีวิวแล้วไม่ใส่ชื่อรุ่น เดี๋ยวจะต้องมีคนสงสัย แล้วถามมาอีกแน่ๆ ว่ารุ่นอะไร เลยต้องรีบบอกก่อน และรีวิวนี้ เป็นการรีวิวที่จ่ายเงินเอง ...

รีวิวปลั๊กพ่วง รางปลั๊กไฟยี่ห้อ Sonic
หลังจากที่ปลั๊กพ่วงที่วางขายทั่วไป ต้องมี มอก. ทุกชิ้น ในช่วงปรับเปลี่ยนตอนแรกๆ ราคาปลั๊กพ่วงแบบทั่วๆ ไป พุ่งขึ้นไปถึง 300 กว่าบาท ...

วิธีใช้ไม้วัดระยะลึก หรือแท่งวัดความลึกของสว่านไฟฟ้า
วันนี้ขอพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มักจะแถมมาพร้อมๆ กับสว่านไฟฟ้าเสมอๆ แต่ว่าเรามักจะไม่ค่อยได้นำมาใช้งานกัน นั่นก็คือ ไม้วัดระยะความลึก หรือก้านวัดระยะ หรือแท่งวัดระยะ จะเรียกยังไงก็ตาม บางคนก็ไม่รู้ว่าจะนำมาใช้งานยังไง หรือบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้ ...

กาวอีพ็อกซี่เปื้อนมือ ล้างกาวอีพ็อกซี่ ติดมือ ได้ง่ายๆ
กาวอีพ็อกซี่เปื้อนมือ ล้างกาวอีพ็อกซี่ ติดมือ ได้ง่ายๆ ซึ่งในขณะที่เราทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับอีพ็อกซี่ แบบอีพ็อกซี่ติดเหล็ก แห้งไว อีพ็อกซี่ 2 ...