ปลั๊กไฟละลาย ปลั๊กไฟไหม้ อันตรายใกล้ตัว

ปลั๊กไฟละลาย หรือ ปลั๊กไฟไหม้ ปลั๊กไฟร้อน จนปลั๊กละลาย อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว และต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์ในวันนี้เกิดขึ้นจากกระติกน้ำร้อนชนิดร้อนเร็ว เสียบไฟไม่นานน้ำก็เดือด น้ำมาชงชา ชงกาแฟกินได้สะดวก ที่วันนี้ไม่ปลอดภัยเหมือนวันที่ผ่านมา มภรรยาเดินมาบอกเล่าปนถามว่า ปลั๊กไฟ(ตัวผู้)ของกระติกน้ำร้อนมันแปลกๆ ตอนดึงปลั๊กไฟออกมันร้อนมาก มีปัญหาอะไรไหม ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบคือ “มีปัญหาแน่ๆ”

ปลั๊กไฟละลาย ปลั๊กไฟไหม้
ปลั๊กไฟละลาย ปลั๊กไฟไหม้
กระติกน้ำร้อน ที่มาของปัญหาวันนี้
กระติกน้ำร้อน ที่มาของปัญหาวันนี้

กระติกน้ำร้อนแบบเดือดไวตัวนี้นี่แหละ ที่มาของปัญหาปลั๊กไฟละลายวันนี้ โชคดีมากที่ภรรยาผมเป็นคนช่างสังเกต เมื่อเห็นอะไรผิดสังเกตก็จะมาบอกกล่าวสอบถามกันก่อน อันตรายจากไฟฟ้ามองข้ามไม่ได้นะครับ แม้ว่าวัสดุที่ใช้ทำปลั๊กไฟ สายไฟ ตามมาตรฐานแล้วจะไม่เกิดการลามไฟ คือ แม้จะมีความร้อนเกิดขึ้น (หรือถ้าเราลองนำวัสดุมาจุดไฟดู ก็จะเห็นว่าไฟจะดับไปเอง ไม่เกิดการลุกลามของไฟ) ความเสียหายมีเพียงการละลายของวัสดุเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ความร้อนที่เกิดขึ้นที่ตัวปลั๊กไฟ อาจจะส่งผ่านความร้อนไปให้กับวัสดุที่วางอยู่ใกล้ๆ ถ้าวัสดุชนิดนั้นไวต่อความร้อนและเป็นเชื้อไฟ ลองคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรร้ายๆ ขึ้นบ้าง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆ มีความแปลก ผิดสังเกตไปจากทุกๆวัน ให้ทำการสำรวจ ตรวจสอบก่อนที่จะนำมาใช้งานอีกครั้งเสมอ ถ้าไม่แน่ใจ ให้ปรึกษาช่างหรือผู้รู้ก่อน ความปลอดภัย ต้องมาก่อนเสมอนะครับ

มีร่องรอยการละลายของวัสดุ
มีร่องรอยการละลายของวัสดุ เท่านี้ก็มากพอแล้ว

ที่ขาของปลั๊กไฟ เราจะสังเกตเห็นการละลายได้ชัดเจนทีเดียว เมื่อเทียบกับอีกขาของปลั๊กอีกด้านหนึ่งที่ยังปกติอยู่ เมื่อเราสังเกตเห็นแล้ว สิ่งที่ต้องทำถัดมาก็คือ แก้ไข เราไม่ควรนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดไปใช้งานต่อ โดยไม่ปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนการนำไปใช้งาน เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาได้ ไฟฟ้า มองไม่เห็นยิ่งต้องระมัดระวังให้มาก

ปลั๊กไฟตัวใหม่ ที่จะนำมาเปลี่ยน
ปลั๊กไฟตัวใหม่ ที่จะนำมาเปลี่ยนวันนี้

เดี๋ยวเราจะมาเปลี่ยนปลั๊กไฟตัวผู้ตัวใหม่ แทนของเดิมที่ชำรุดเสียหาย

แก้ปัญหา ปลั๊กไฟละลาย ด้วยการเปลี่ยนปลั๊กตัวใหม่

ทดสอบแล้วว่า ไม่ได้ทำจากเหล็กชุบ
ทดสอบแล้วว่า ไม่ได้ทำจากเหล็กชุบ

ปลั๊กไฟตัวผู้ที่เลือกมาใช้งาน ทดสอบด้วยไขควงที่ปลายเป็นแม่เหล็กแล้วว่า ไม่ใช่เหล็กชุบสีทองแน่ๆ ดูดยังไงก็ไม่ติด สินค้าไทยๆ คุณภาพดีๆ ยังมีอีกเยอะครับ

ตัดปลั๊กไฟของเดิมทิ้งไปก่อน
ตัดปลั๊กไฟของเดิมทิ้งไปก่อน

เราจะต้องตัดปลั๊กไฟตัวผู้ของเดิม ที่มีปัญหาทิ้งไปก่อน โดยตัดให้ติดชิดกับโคนของปลั๊กไฟมาที่สุด สายไฟจะได้ไม่สั้นมาก

สายไฟมีสามเส้น
สายไฟมีสามเส้น

กาน้ำร้อนตัวนี้มีสายไฟสามเส้น โดยมีสายกราวนด์อยู่ด้วย (สายสีเหลืองคาดเขียว) แต่ปลั๊กไฟบ้านผม ไม่มีรูเสียบสายกราวนด์ด้วย ดังนั้นผมตัดสายเส้นนี้ทิ้ง แต่ถ้าบ้านใครที่ปลั๊กไฟตัวเมีย หรือเต้ารับ มีรูเสียบสายกราวด์ด้วย ก็ไม่ควรจะตัดทิ้ง แต่ควรจะเปลี่ยนหัวปลั๊กตัวผู้ ให้เป็นแบบที่มีสายกราวนด์ด้วย ซึ่งวันหลังจะนำมาบอกเล่าอธิบายพร้อมภาพประกอบกันอีกที

ฐานของกาน้ำร้อน มีสามร่อง
ฐานของกาน้ำร้อน มีสามร่อง

ฐานของกาน้ำร้อนก็จะมีสามร่องด้วยเช่นกัน ร่องที่สาม นอกสุดเป็นร่องของสายกราวนด์ มองเห็นหน้าสัมผัสได้ชัดเจน

ตัดสายกราวนด์ทิ้ง
ตัดสายกราวนด์ทิ้ง

ตัดสายกราวนด์ทิ้งไปก่อน

ต่อสายไฟ และยึดสกรูให้แน่นหนา
ต่อสายไฟ และยึดสกรูให้แน่นหนา

ปอกสายไฟ ให้พอดี และยึดกับขาปลั๊กไฟให้แน่นหนา อย่าให้มีสายทองแดงยื่นเกะกะออกมาแม้แต่เส้นเดียว อาจจะก่อให้เกิดปัญหาภายหลังได้

ข้อเสีย คือปลั๊กไม่หนีบสายไฟไว้
ข้อเสีย คือปลั๊กไม่หนีบสายไฟไว้

ข้อเสียของปลั๊กไฟแบบนี้ สำหรับสายไฟแบบนี้คือ สายไฟจะไม่ถูกหนีบ หรือบีบให้แนบแน่นไปกับตัวปลั๊กไฟ แต่ปลั๊กไฟแบบนี้จะเหมาะกับสายไฟแบบแบนมากกว่า ถ้าใครติดนิสัยชอบถอดปลั๊กด้วยการดึงที่สายไฟ แทนที่จะจับที่ตัวปลั๊กไฟ และดึงออกให้ถูกวิธี ก็อาจจะใช้งานได้ไม่นาน ต้องกลับมาแก้ไขกันอีก

ต้องการให้แน่นขึ้น เลยมองหาเศษฉนวนสายไฟ
ต้องการให้แน่นขึ้น เลยมองหาเศษฉนวนสายไฟ

อยากจะแก้ไขให้แน่นหนาขึ้นอีกสักนิด เลยลองมองหาเศษฉนวนที่ตัดทิ้งไปแล้ว ว่าจะใช้ได้ไหม

ตัดพับ ใส่ลงไปในร่องได้พอดี
ตัดพับ ใส่ลงไปในร่องได้พอดี

ลองตัดพับมาใส่ในร่องเล็กๆ ของปลั๊กไฟ ซึ่งเข้ากันได้พอดีทีเดียว ไม่หลวมด้วย

เมื่อประกบเข้าด้วยกันอีกครั้ง แน่นหนาขึ้น
เมื่อประกบเข้าด้วยกันอีกครั้ง แน่นหนาขึ้น

เมื่อประกอบปลั๊กไฟเข้าไปให้เรียบร้อยอีกครั้ง แต่ยังไม่ขันสกรูให้แน่นหนา มองเห็นได้ถึงความแน่นหนาที่เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ซึ่งดีกว่าจะปล่อยให้ตัวสายไฟแกว่งไปมาได้

ประกอบปลั๊กไฟตัวผู้ ตัวใหม่ เรียบร้อยแล้ว
ประกอบปลั๊กไฟตัวผู้ ตัวใหม่ เรียบร้อยแล้ว

ประกอบปลั๊กไฟตัวผู้ (เต้าเสียบ) เรียบร้อยดี ตามความต้องการแล้ว

ลองมาชำแหละปลั๊กไฟหาสาเหตุต่อ
ลองมาชำแหละปลั๊กไฟหาสาเหตุต่อ

เมื่อแก้ปัญหาเสร็จสิ้นแล้ว ก็ถึงคราวมาชำแหละหาสาเหตุกันต่อ โดยใช้เลื่อย และมีดในการชำแหละปลั๊กไฟละลายตัวนี้

มองเห็นร่องรอยแล้ว
มองเห็นร่องรอยแล้ว

จากภาพ เราจะมองเห็นร่องรอยได้ชัดพอสมควร ที่บริเวณโคนขาของปลั๊กด้านนี้มีร่องรอยการไหม้ชัดเจน

ชำแหละเพิ่มอีกนิด เห็นมากขึ้นอีกหน่อย
ชำแหละเพิ่มอีกนิด เห็นมากขึ้นอีกหน่อย

ชำแหละอีกหน่อย เริ่มมองเห็นขาของปลั๊ก ที่ต่ออยู่กับสายไฟแล้ว

มองเห็นปลายขาของปลั๊กแล้ว
มองเห็นปลายขาของปลั๊กแล้ว

มองเห็นปลายขาของปลั๊กไฟชัดเจนทีเดียว

ปลายขาของปลั๊กไฟ อีกมุมหนึ่ง
ปลายขาของปลั๊กไฟ อีกมุมหนึ่ง

ปลายขาของปลั๊กไฟอีกมุมหนึ่ง สังเกตเห็นไหมว่า ปลายขาจะดูแบนๆ

สายไฟ จะสอดเข้าไปที่ปลายขาของปลั๊กไฟ
สายไฟ จะสอดเข้าไปที่ปลายขาของปลั๊กไฟ

ที่ปลายขาของปลั๊กไฟ เราจะมองเห็นได้ชัดๆว่าสายไฟ จะถูกสอดเข้าไปในขาปลั๊ก แล้วบีบย้ำที่ขาปลั๊กไฟให้แบน เพื่อที่จะหนีบย้ำสายไฟไว้ให้แน่นๆ

ใช้นิ้วมือบีบขาปลั๊กไฟเข้ามาเล็กน้อย
ใช้นิ้วมือบีบขาปลั๊กไฟเข้ามาเล็กน้อย

ใช้นิ้วมือ ออกแรงบีบขาปลั๊กไฟเข้ามาเล็กน้อย ก็บิดได้ง่ายดายอย่างที่เห็น ถ้าสายไฟยังไม่ชำรุด และติดอยู่กับปลายขาของปลั๊กไฟอย่างแน่นหนา ไม่มีทางที่จะบิดได้ง่ายดายแบบนี้

รอยไหม้ชัดเจน เกิดที่รอยต่อ
รอยไหม้ชัดเจน เกิดที่รอยต่อ

จุดที่เกิดการละลาย และไหม้อย่างชัดเจน เกิดขึ้นที่รอยต่อ สายไฟ กับ ปลายขาของปลั๊กไฟ

ขาปลั๊กไฟ กับร่องรอยการละลาย
ขาปลั๊กไฟ กับร่องรอยการละลาย

สำรวจตรวจดูขาของปลั๊กไฟกันอีกครั้ง ไม่พบร่องรอยของการอาร์คบนขาของปลั๊กไฟใดๆ เลย

เมื่อขาของปลั๊กไฟไม่มีอะไรผิดสังเกต คำถามก็คือ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ขาปลั๊กไฟจึงละลาย และไหม้แบบที่เห็น?

ปกติปัญหาปลั๊กไฟละลาย หรือไหม้ จะเกิดขึ้นเมื่อกระแสไฟเดินทางได้ไม่สะดวก ก็จะกลายเป็นความร้อนสะสม ยิ่งเราไม่รู้ตัว และปลั๊กไฟถูกเสียบทิ้งไว้นานความร้อนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น จนวัสดุที่ห่อหุ้มขาของปลั๊กไฟละลาย ที่เราเรียกว่าปลั๊กไฟละลาย หรือปลั๊กไฟไหม้

ปัญหากระแสไฟวิ่งได้ไม่สะดวก อาจจะเกิดขึ้นได้จากปลั๊กไฟตัวเมีย หรือเต้ารับ ซึ่งอาจจะเป็นเต้ารับหลักที่ติดอยู่บนกำแพงบ้าน หรือ ปลั๊กต่อพ่วง เกิดหลวมจากการใช้งานมานาน เมื่อเรานำปลั๊กไฟตัวผู้ หรือเต้าเสียบ ไปเสียบใส่เต้ารับ เราก็จะรู้สึกได้ว่าหลวม ขยับนิดอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ติดใช้งานได้ ขยับอีกนิดอุปกรณ์ไฟฟ้าก็ดับ แบบนี้เรียกว่าปลั๊กไฟหลวม ถ้าใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟสูงๆ ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดความร้อนสะสมที่ตัวปลั๊กไฟ อาจจะละลาย หรือไหม้ได้ง่ายมาก

กรณีของปลั๊กไฟกาต้มน้ำร้อน ในบทความนี้มีข้อแตกต่าง เนื่องจากทดสอบดูปลั๊กไฟตัวเมีย หรือเต้ารับแล้วว่าไม่มีกรณีหลวมของปลั๊กไฟแน่ แต่เต้ารับที่บ้านนี้มีม่านนิรภัย เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้ว หรือวัสดุใดๆ ไปแหย่ปลั๊กไฟตัวเมีย หรือเต้ารับเล่น จนเกิดอันตรายถูกไฟดูดได้ และม่านนิรภัยนี้เอง ที่ทำให้เวลาเราเสียบปลั๊กไฟตัวผู้ (เต้าเสียบ) เข้าไปที่ปลั๊กไฟตัวเมีย (เต้ารับ) จะต้องออกกดที่ขาทั้งคู่ของปลั๊กไฟพร้อมๆ กัน และใช้แรงมากสักหน่อยเพื่อดันให้ม่านนิรภัยเปิดออก ซึ่งในบางครั้ง อาจจะเกิดกรณีที่ออกแรงกดไม่สม่ำเสมอลงบนขาของปลั๊กไฟ ข้างใดข้างหนึ่งถูกแรงกดที่มากกว่า จนขาปลั๊กไฟเกิดการขยับตัวไปจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย เล็กน้อย แต่บ่อยๆ ก็ทำให้รอยต่อระหว่างสายไฟ กับปลายขาของปลั๊กไฟเกิดปัญหาขึ้นได้

จากการชำแหละปลั๊กไฟของกาต้มน้ำร้อน ทำให้พิจารณาเห็น และประติดประต่อ สาเหตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เริ่มจากการย้ำสายไฟ เข้าที่ปลายขาของปลั๊กไฟ ซึ่งน่าจะออกแรงกดทับที่มากจนเกินไป จนสายไฟเกือบ หรือจวนเจียนจะขาด หลุดออกจากปลายขาของปลั๊กไฟอยู่แล้ว เมื่อมีการใช้งานกับปลั๊กไฟ(เต้ารับ)ที่มีม่านนิรภัยอีก ทำให้รอยต่อเกิดปัญหาขึ้นจากแรงกด จนสายไฟบางเส้นเริ่มขาด หรือหลุดออกจากปลายขาของปลั๊กไฟ อีกทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนี้ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูก local brand ที่สั่งผลิตจากแหล่งผลิตใหญ่ที่เราก็รู้ว่าที่ไหน จึงเลือกใช้ขนาดของสายไฟแบบพอดีๆ กับพิกัดกำลังไฟของกาต้มน้ำร้อน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เมื่อสายไฟขาดไปเพียงบางเส้น กระแสไฟที่วิ่งเข้าไปที่ขดลวดความร้อนของกาต้มน้ำร้อน ก็วิ่งเข้าไปได้ไม่สะดวกแล้ว เกิดเป็นคอขวด เกิดเป็นความร้อนสะสม เกิดการอาร์คตรงรอยต่อของสายไฟที่ขาดออกจากกัน ในที่สุดความร้อนที่มากขึ้นๆ ก็ทำให้ปลั๊กไฟละลาย หรือปลั๊กไฟไหม้ไปในที่สุด

สรุปทิ้งท้ายบทความว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าถูกหรือแพง ในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น เราจำเป็นที่จะต้องสังเกตในการใช้งานเป็นประจำด้วย หากพบเห็น หรือรู้สึกว่ามีอะไรผิดสังเกต ควรรีบหยุดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นไว้ก่อน แล้วปรึกษาสอบถามผู้รู้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ไฟฟ้าแม้จะมีประโยชน์อย่างมหาศาล แต่ก็สร้างความเสียหายได้มหาศาลเช่นกัน อย่าประมาท อย่าละเลย ที่จะคิดถึงความปลอดภัยอยู่เสมอๆนะครับ

งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
โคมไฟติดผนังภายนอก เปลี่ยนเองก็ได้ ง่ายดี ไม่ต้องเรียกช่าง

โคมไฟติดผนังภายนอก เปลี่ยนเองก็ได้ ง่ายดี ไม่ต้องเรียกช่าง

โคมไฟติดผนังภายนอก เปลี่ยนเองก็ได้ ง่ายดี ไม่ต้องเรียกช่าง เพราะเราทำเองได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องปิดไฟ สับเบรกเกอร์ลงหมดแล้ว สำหรับช่างประจำบ้าน ช่างที่ทำงาน ...

หัวแปลงปลั๊กไฟ ปลั๊กแปลงขา ตัดสินใจให้ดีก่อนการเลือกซื้อ

หัวแปลงปลั๊กไฟ ปลั๊กแปลงขา ตัดสินใจให้ดีก่อนการเลือกซื้อ

หัวแปลงปลั๊กไฟ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป และเชื่อได้ว่าในแต่ละบ้าน ต้องมีติดเอาไว้ด้วย อย่างน้อยที่สุด ก็เอาไว้แปลงหัวปลั๊กสามขา เป็นสองขา ซึ่งหลายคนยังใช้งานกันเป็นประจำในแต่ละวัน แต่บ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ อาจจะไม่จำเป็น ...

ซ่อมของใช้ในบ้าน
เสริมขา ให้อ่างล้างจาน ชั้นวางหัก เพราะระยะห่างระหว่างขาที่มากเกินไป

เสริมขา ให้อ่างล้างจาน ชั้นวางหัก เพราะระยะห่างระหว่างขาที่มากเกินไป

เสริมขา ให้อ่างล้างจาน เป็นงานซ่อมแซม งานแก้ไข เล็กๆ น้อยๆ ในบ้านสวน ถ้ามองว่าเล็กน้อยก็ใช่ แต่ถ้าพังเสียหายถาวรไปแล้ว ก็ต้องเสียเงินเสียทองในการซ่อมแซมมากกว่านี้ ...

ซ่อมกรรไกรตัดกิ่ง ตัวล็อคหลวม กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้

ซ่อมกรรไกรตัดกิ่ง ตัวล็อคหลวม กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้

เรื่องของงานช่าง บางทีมันเห็นโน่นนั่นนี่ ทำงานได้ไม่ปกติ ก็อยากจะหยิบจับมางัด มาแงะ ลองซ่อม ลองแก้ไขปัญหา ดูว่าจะทำให้มันดีขึ้นได้ไหม กรรไกรตัดกิ่งอันนี้ ซื้อมานานแล้ว ...

งานช่างในสวน
ยางรัดหน้ากากอนามัย Reuse ไปเป็นยางรัดแว่นตา

ยางรัดหน้ากากอนามัย Reuse ไปเป็นยางรัดแว่นตา

การทำงานสวนเป็นเรื่องง่ายๆ สบายๆ สำหรับคนตาดีๆ ที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยแว่น และใครที่สายตายาวก็ยังมีปัญหาน้อยกว่าคนสายตาสั้น และผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น สายตาสั้นจึงต้องสวมแว่นตลอดเวลา เคยคิดจะไปใช้คอนแทคเลนส์จะได้สบายๆ แต่ก็ไม่น่าจะไหว เพราะทำงานสวนเหงื่อออกเป็นว่าเล่น ...

ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์

เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...

งานซ่อมประปา
แมลงสาบ ในตู้ซิ้งค์ ตู้ใต้อ่างล้างจาน มีกลิ่นแมลงสาบ แสดงว่ามีตัว

แมลงสาบ ในตู้ซิ้งค์ ตู้ใต้อ่างล้างจาน มีกลิ่นแมลงสาบ แสดงว่ามีตัว

เรื่องราววันนี้ วนเวียนอยู่กับศัตรูตัวฉกาจชนิดหนึ่งของบ้าน นั่นก็คือแมลงสาบ แมลงสาบ ในตู้ซิ้งค์ ตู้ใต้อ่างล้างจาน ซึ่งมีความพากเพียร มีความพยายามที่จะมุด หาทางเล็ดลอดเข้าไปทุกๆ มุม ...

ถังแรงดันเก็บน้ำ RO ผุ รั่วซึม แก้ไขได้

ถังแรงดันเก็บน้ำ RO ผุ รั่วซึม แก้ไขได้

การแก้ไขปัญหาถังแรงดันเก็บน้ำ ของเครื่องกรองน้ำ RO (RO = reverse osmosis) ในวันนี้ ถือเป็นความสะเพร่าของตัวเองแบบที่สุด จนเกิดเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไข ...

เก็บมาคิดหยิบมาเล่า
ปลั๊กไฟหลวม เสียบปลั๊กแล้วหลวม ขยับติด ขยับดับ แก้ได้ไม่ยาก

ปลั๊กไฟหลวม เสียบปลั๊กแล้วหลวม ขยับติด ขยับดับ แก้ได้ไม่ยาก

ปลั๊กไฟหลวม คืออาการที่เกิดขึ้นตอนเราเสียบปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้า เข้ากับเต้ารับบนกำแพงบ้าน หรือปลั๊กพ่วง เมื่อเสียบปลั๊กแล้วไม่แน่น ขยับนิดนึง เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ติด ขยับอีกนิดนึง มันก็ดับ บางทีก็ต้องใช้มือจับค้างเอาไว้สักพัก ...

อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า ใช้ก๊อกน้ำอ่างล้างจาน ชีวิตก็ง่ายขึ้น

อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า ใช้ก๊อกน้ำอ่างล้างจาน ชีวิตก็ง่ายขึ้น

งานช่าง หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป เรามักจะคุ้นเคยกับสิ่งที่เคยผ่านตามา มองเห็น และจดจำ จนในที่สุด ไม่ค่อยมีใครกล้าที่จะเปลี่ยน และไม่คิดว่ามันจะทำได้ ...

Review รีวิว
รีวิว ปั๊มน้ำอัตโนมัติ clinton model PS-150(B)

รีวิว ปั๊มน้ำอัตโนมัติ clinton model PS-150(B)

เรื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติอีกแล้ว เนื่องจากปั๊มน้ำตัวเดิม มีปัญหาค่อนข้างมาก ในขณะที่การใช้งานจริงแบบต่อเนื่องเป็นไปไม่ได้ ความจำเป็นทำให้ต้องมองหาปั๊มน้ำตัวใหม่มาใช้งาน แต่ก็ยังเป็นปั๊มน้ำแบบเปลือย ไม่มีฝาครอบเหมือนเดิม ด้วยราคาค่าตัวที่ต่ำ และแรงดันน้ำที่สูง ทำให้รู้สึกชอบปั๊มน้ำแบบนี้เสียแล้ว ...

รีวิว พัดลมตั้งโต๊ะ มิตซูบิชิ

รีวิว พัดลมตั้งโต๊ะ มิตซูบิชิ

ถอดแกะมารีวิว พัดลมตั้งโต๊ะ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ (Mitsubishi) พัดลมยี่ห้อนี้ผมเคยรีวิวมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นพัดลมแบบกึ่งตั้งโต๊ะ ซึ่งพัดลมแนวกึ่งๆนี้เป็นที่นียมมากพอสมควร แต่พัดลมแบบตั้งโต๊ะก็ยังมีความต้องการอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน และพัดลมในวันนี้ ...

เครื่องไม้เครื่องมือช่าง
เลือกใช้ดอกสว่านให้ถูกกับงาน

เลือกใช้ดอกสว่านให้ถูกกับงาน

ปัญหาเรื่องการเลือกซื้อสว่านไฟฟ้า และปัญหาการเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ดอกสว่าน มักจะเป็นปัญหาอันดับต้นๆ และเป็นคำถามที่มักจะได้รับจาก ช่างประจำบ้าน ช่างจำเป็นมือใหม่ อยู่เสมอๆ วันนี้เลยขอมานั่งพูดคุยกันถึงเรื่องของดอกสว่านสักหน่อยดีกว่า เพื่อความเข้าใจ ...

เปลี่ยนใบมีด กรรไกรตัดท่อ PVC เพื่อ Upgrade

เปลี่ยนใบมีด กรรไกรตัดท่อ PVC เพื่อ Upgrade

ห่างหายจากการ update เขียนบทความไปนาน จนนิ้วแทบกระดิกกดลงบนแป้นพิมพ์ ไม่เหมือนค่อยถนัด และช้าลงมากไม่เหมือนก่อนโน้นๆๆ เพราะมีภาระกิจใหม่ ในการปลูกทุเรียน ในพื้นที่ท่าใหม่ จันทบุรี ...

1 thought on “ปลั๊กไฟละลาย ปลั๊กไฟไหม้ อันตรายใกล้ตัว”

  1. thank you
    เต้าไฟบ้าน หลวมๆร้อนๆ ซื้อมาจากร้านตึกแถว คราวหน้าซื้อห้างดีกว่า ไม่คุ้มเลย

    ตอบกลับ

Leave a Comment

20 + thirteen =

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.