ที่บ้านสวน ใช้น้ำบาดาล โดยใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบขึ้นมาเก็บไว้ในโอ่ง แล้วค่อยดูดผ่านปั๊มน้ำอัตโนมัติไปใช้งานภายในบ้านอีกทีนึง ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง อาศัยสวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้า ในการควบคุม ซึ่งลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ เป็นชนิดมีตุ้มน้ำหนักสองตุ้ม ควบคุมระดับน้ำต่ำสุด และสูงสุด ได้ทั้งสองอย่างเลย ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง ในแท็งค์น้ำ หรือในตุ่มน้ำต่างๆ จะมีระบบ มีวิธีการควบคุมอยู่หลายวิธี ง่ายที่สุดก็คือลูกลอย เดี๋ยวจะทยอยนำมารีวิวให้อ่านกัน ว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง

ในภาพ จะมองเห็น โซลินอยด์วาล์ว และสายไฟหลายเส้น อย่าไปสนใจมันครับ มันเป็นระบบน้ำที่ผมออกแบบไว้ ใช้หลายโอ่ง แต่สลับกันทำงาน ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่อง สวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้าเสีย ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติเลย มองข้ามไปแล้วกัน ขอให้สนใจเฉพาะตัวสวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า และตุ้มถ่วงที่เห็นในภาพ คือตุ้มสีเหลืองๆ จะเห็นตุ้มเดียวนะครับ อีกตุ้มนึงลอยอยู่ในโอ่ง
สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้าเสีย อาการพัง ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ ไม่ตรงตามความต้องการ
มาดูปัญหาของสวิทช์ลูกลอยไฟฟ้าตัวนี้กันหน่อยดีกว่า จะค่อยๆ อธิบายนะครับ และมองดูภาพไปด้วยจะเข้าใจ อ้อ การออกแบบระบบของผม ใช้ไฟ DC 12V มาผ่านหน้าสัมผัสของสวิทช์ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องไฟดูด ไม่เหมือนไฟ AC 220V แต่ถึงอย่างไร ก็ปิดสวิทช์ไฟเรียบร้อยแล้ว จึงเริ่มดำเนินการ เรื่องของไฟฟ้า มองไม่เห็น แต่ต้องระวังอย่างสูงสุดครับ
เนื่องจาก ลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ จะเป็นตุ้มถ่วงสองตุ้ม ถ้าระดับน้ำลดลงไปต่ำมากๆ ต่ำกว่าระดับตุ้มถ่วงสองตุ้ม ตุ้มถ่วงสองตุ้ม ก็จะถ่วงพร้อมๆ กัน เชือกก็จะมาดึงให้แผ่นกระเดื่อง เป็นแผ่นสแตนเลสที่เห็นในภาพนะครับ ลักษณะเหมือนกระดานหกนะครับ เมื่อแผ่นกระเดื่องถูกดึง ก็จะไปกดลงที่ปุ่มก้านสวิทช์กลมๆ ของสวิทช์ไฟฟ้า หน้าสัมผัส NO ที่เราต่อไว้ใช้งาน ก็จะทำงาน ในภาพ ผมสมมุติให้มือตัวเองเป็นตุ้มถ่วง โดยใช้มือดึงเชือกเต็มแรง ให้กระเดื่องขึ้นไปสุด จนติดตัวสวิทช์ไฟฟ้า สวิทช์ก็จะทำงาน ได้ยินเสียงแต๊กชัดเจน อาศัยหู ไม่ต้องพึ่งมัลติมิเตอร์เลย 5555

ปัญหาอยู่ที่ภาพถัดมานี้ครับ เมื่อลองคลายเชือกออกเล็กน้อย ภาพนี้จะมองเห็นก้านสวิทช์กลมๆ ชัดเจนขึ้นหน่อย กระเดื่องก็จะกดลงที่ตัวสวิทช์ด้วยน้ำหนักที่เบาลงเล็กน้อย เสียงแต๊ก ดังมาอีกรอบ สวิทช์ตัดการทำงานเสียแล้ว ซึ่งในสถานะประมาณนี้ หมายความว่าสวิทช์ทำงานไม่สัมพันธ์กันกับตุ้มถ่วงแล้วล่ะครับ
ตุ้มถ่วงที่ให้มา เป็นตุ้มแบบปิดหมด เติมน้ำลงไปในตุ้มไม่ได้ น้ำหนักตุ้มจึงคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสอบตุ้มน้ำหนักแล้ว ปรากฏว่า น้ำหนักของตุ้ม จะไม่ทำให้กระเดื่องดีดตัวขึ้นสุด ไม่กดลงบนก้านสวิทช์แบบเต็มแรง แต่มีสถานะกลางๆ แบบภาพด้านล่างนี้ ทำให้บางจังหวะ สวิทช์จะทำงาน และบางครั้งก็ไม่ทำงาน ติดๆ ขัดๆ ไม่ถูกใจเลยจริงๆ
เกิดปัญหา น้ำถูกดึงไปใช้จนหมดโอ่งแล้ว แต่ปั๊มน้ำบาดาลที่จะสูบน้ำมาเติมเข้าโอ่ง ทำงานบ้างบางครั้งบางคราวเท่านั้น คาดเดาว่า ถ้าจังหวะไหน ระดับน้ำลดลงเร็ว ตุ้มน้ำหนักมีการแกว่ง สวิทช์ก็จะทำงาน แต่ถ้าระดับน้ำลดลงช้าๆ ลำพังน้ำหนักตุ้มถ่วง ก็ไม่มากพอที่จะดันให้สวิทช์ทำงานกระมัง เป็นแบบนี้จนเดาใจกันไม่ถูก วันไหนพี่ท่านจะขี้เกียจ จนไม่ยอมสั่งปั๊มน้ำบาดาลให้เติมน้ำเข้าโอ่งให้ ต้องมาคอยลุ้นแบบนี้ทุกวันๆ คงไม่ไหว ต้องหาทางแก้ไข

ผ่อนน้ำหนักมือลงอีกนิดนึง เป็นสถานะสมมุติว่า ระดับน้ำสูงขึ้นแล้ว จนตุ้มแรกไม่ทำงานไม่มีน้ำหนัก เพราะลอยน้ำอยู่ เหลือน้ำหนักอยู่ตุ้มเดียว กระเดื่องจะอยู่ในสถานะประมาณนี้ สวิทช์ก็จะอยู่ประมาณนี้เช่นกัน

คลายเชือกจนสุด กระเดื่องจะดีดกลับไปอยู่ในสถานะเริ่มต้น สวิทช์ไฟฟ้า ของลูกลอยไฟฟ้า จะตัดการทำงานโดยสมบูรณ์

สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้าตัวนี้ มีระบุว่า รับประกันที่ตัวสวิทช์ แต่การจะส่งไปเคลม คงยุ่งยากเสียเวลาพิสูจน์อาหารเสียอีก ซึ่งอาการแบบนี้ อาจจะตีความว่าไม่เสียก็ได้ เพราะเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราว แต่ก็สร้างความยุ่งยากให้ชีวิต ที่ต้องมาคอยระวัง เพราะระบบไม่อัตโนมัติอย่างที่หวัง และผมก็เชื่อว่า ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกตัว เพราะสปริง กับตุ้มน้ำหนักอาจจะมีผิดเพี้ยนได้บ้างเล็กน้อย แต่บังเอิญผมโชคดี ตัวนี้ก็ทำงานผิดพลาดเล็กน้อยเหมือนกัน เล็กน้อยจนเหนื่อยใจ

นำไขควงมาถอด เอาแต่สวิทช์ออกมา เดี๋ยวค่อยไปแกะแงะ แก้ปัญหากันอีกที

แก้ปัญหา สวิทช์ลูกลอย ลูกลอยไฟฟ้า สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า Float switch , Float level sensor เสีย พัง
ถอดเฉพาะสวิทช์ไฟฟ้าออกมา หน้าตาง่ายๆ แบบนี้ มีก้านปุ่มกดยื่นออกมาเพียงก้านเดียว

สวิทช์ตัวนี้ รับกระแสสูงสุดได้ 15A มีหน้าสัมผัส NO และ NC ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

เอาล่ะ ได้เวลาชำแหละสวิทช์ลูกลอยไฟฟ้ากันละ

ก้านกดของตัวหน้าสัมผัสสวิทช์ที่เคลื่อนที่ขึ้นลงได้ ต่ออยู่กับแผ่นสปริงอย่างที่เห็น

ถอดหน้าสัมผัสอลูมีเนียมออกมาก่อน จึงจะถอดเอาก้านสวิทช์ที่ต่อกับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ออกมาได้

ด้านล่างของก้านสวิทช์ จะมีหน้าสัมผัสอยู่ด้วย สองจุด ทำหน้าที่กดลงไปที่หน้าสัมผัสอลูมีเนียมที่อยู่ด้านล่างอีกชุดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็น NC

แผ่นหน้าสัมผัสเดิมๆ เป็นอลูมีเนียม และแบนราบ

ผมดัดให้หน้าสัมผัสอลูมีเนียม งอลงเล็กน้อย อย่างในภาพ

จับก้านสวิทช์แรงไปหน่อย หลุดออกมาเป็นชิ้นๆ ถ้าประกอบกลับไปไม่ได้ ก็ได้เสียเงินซื้อตัวใหม่ การงัดแงะ ต้องยอมรับตรงจุดนี้ด้วย แก้ไม่ได้ เท่ากับ เสียเงินฟรี แต่ผมมักจะยึดคติว่า ทำของที่พังให้ใช้งานได้ มีแค่สองอย่าง พังยิ่งกว่าเดิม หรือกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

โชคดี ประกอบกลับเข้าที่เข้าทางได้เช่นเดิม สังเกตเห็นสปริงอีกตัว ในกล่องสวิทช์ด้านล่างไหมครับ สปริงตัวนี้ ผมไม่แตะต้อง แม้วิธียืดสปริง จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่ปัญหาอาจจะมากกว่าเดิม ก็ได้ เพราะตุ้มน้ำหนักไม่มีเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก ในขณะที่การยืดสปริง ถ้ายืดออกไปแล้ว จะหดกลับให้สปริงมีแรงเท่าเดิม ทำไม่ได้ เราก็จะได้ปัญหาใหม่มาแทนปัญหาเก่า ผมจึงเลือกที่จะไม่ยุ่งกับชิ้นส่วนที่เป็นสปริง เพราะสปริง กับตุ้มน้ำหนัก จะต้องทำงานสัมพันธ์กัน

สังเกตนะครับ หน้าสัมผัสที่เคลื่อนที่ได้นี้ มีการพับขอบด้วย 2 ด้าน

ตอนถอดออกมา ได้สังเกตหรือไม่ ว่าด้านไหน อยู่ข้างบ้าน หรือข้างล่าง ใส่ผิดงานเข้านะครับ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เราต้องสังเกตตอนแคะ แกะ ถ้าไม่แน่ใจ ถ่ายรูปไว้เยอะๆ ครับ ดูตามทีหลังได้

ด้านที่มีขอบด้านล่าง ต้องไม่สัมผัสกับหน้าสัมผัสด้านล่าง ตอนประกอบใส่ลงไป ไม่งั้น สวิทช์จะทำงานค้างอยู่สถานะเดียวแน่ๆ ครับ

ประกอบกลับเข้าไปเรียบร้อย หลังจากทดสอบด้วยมัลติมิเตอร์จนแน่ใจในการทำงานแล้ว พบว่าทำงานได้ตามความตั้งใจ ก็นำไปประกอบกลับเข้าที่เข้าทาง และทดสอบ ก็ผ่าน ทำงานได้ตามที่ต้องการ ผ่านการทำงานมาได้ประมาณ 40-50 ครั้ง ยังทำงานได้ปกติตลอด ไม่มีอิดออดให้รำคาญใจอีกเลย

วาดรูปไม่สวย ดูไม่ได้เลย คูคร่าวๆ แล้วกัน ผมดัดให้หน้าสัมผัสงอลงเล็กน้อย(น้อยมากจริงๆ) จะทำให้ระยะห่างระหว่างหน้าสัมผัส NO กับ หน้าสัมผัสของก้านสวิทช์ที่เคลื่อนที่ได้ มีระยะห่างที่น้อยลง ดังนั้น เวลาที่สวิทช์ทำงาน เปลี่ยนจาก NO เป็น Close ทำให้จังหวะที่สวิทช์จะดีดตัวกลับจาก Close ไปเป็น Open มีระยะดีดกลับของสวิทช์มากขึ้นครับ ไม่แกว่งเหมือนกับตอนแรกก่อนแก้ไข
หมายเลย 1 คือระยะห่างของหน้าสัมผัสปกติ และหมายเลย 2 คือหน้าสัมผัส ที่ผมดัดให้งอลงเล็กน้อย ทั้งสองด้าน ส่วนตรงกลาง เป็นก้านสวิทช์ฺเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ และมีหน้าสัมผัสเป็นจุดเล็กๆ ครับ

ยังมีอีกวิธีนึงนะครับ ในการแก้ปัญหาตุ้มน้ำหนักของสวิทช์ลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ คือหาน็อตสแตนเลส หรือวัตถุที่ไม่ขึ้นสนิม และมีน้ำหนักสักหน่อย มาถ่วงต่อจากลูกตุ้มน้ำหนักของตัวสวิทช์ลูกลอยไฟฟ้านี้อีกทีนึง เมื่อระดับน้ำลดต่ำลง ตุ้มถ่วงลงเต็มที่ ก็จะมีน้ำหนักของน็อตสแตนเลสด้วย แต่ผมไม่มีน็อตสแตนเลส จะหาวัสดุอื่นก็ต้องมีน้ำหนัก และต้องดัดแปลงอีกเหมือนกัน ไม่ต่างไปจากการดัดแปลงสวิทช์ จึงขอเลือกใช้วิธียุ่งยาก ไม่ใช้วิธีถ่วงน้ำหนักให้ตุ้มเพิ่ม แต่มายุ่งกับสวิทช์โดยตรงเลย เพราะดูแล้ว ต้องแก้ได้แน่ๆ
การแก้ไขดัดแปลง ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเราเอง ถ้าไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ แล้วสินค้ามีประกัน ก็ส่งไปเคลมประกันดีกว่านะครับ เพราะถ้าเราอยากจะแก้ไขเอง น่าจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ อยู่บ้าง ถ้าถอดออกมา แล้วทำเสียหายยิ่งกว่าเดิม จะส่งไปเอาประกัน ก็ไม่ได้หรอกครับ คงไม่มีใครยอม ต้องทำใจยอมรับตรงนี้ก่อนจะลงมือด้วยนะครับ
การแก้ปัญหาสวิทช์ลูกลอย ผมจะไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปแก้ไข ดัดแปลงที่ตัวสปริงเลย ถ้าผมยืดตัวสปริงให้ยาวขั้นเล็กน้อย เพื่อให้มีแรงดีดก้านสวิทช์มากขึ้น การทำงานของสวิทช์ลูกลอยตัวนี้ก็จะผิดเพี้ยนไปทันที เพราะตุ้มถ่วงสองลูก ที่มีน้ำอยู่ภายใน ยังมีน้ำหนักเท่าเดิม แต่สปริงแข็งขึ้น การทำงานจะผิดเพี้ยนไป จนถึงขั้น ทำงานไม่ได้เลยทีเดียว จะเปลี่ยนน้ำหนักของตุ้มก็ไม่ได้ เพราะตุ้มนี้ ปิดสนิทด้วยกาว เติมน้ำไม่ได้ ยกเว้นจะหาตุ้มมาถ่วงเพิ่ม และตั้งปรับแต่งอีกนาน กว่าจะเข้าที่ ทำงานได้เหมือนเดิม เหนื่อยกว่าเก่าอีกครับ
เรียกว่า แก้ไขดัดแปลงแค่สปริงนิดเดียว ต้องไปแก้ปัญหากันอีกหลายจุด และสปริงที่ยืดแล้ว จะทำให้มันหดกลับมาที่ตำแหน่งเดิม ยาวเท่าเดิม มีแรงสปริงเท่าเดิม ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ ถ้าไม่เชื่อ ลองเอาปากกาลูกลื่น ที่มีสปริงอยู่ภายใน แกะออกมาแล้วยืดสปริงดู ใส่กล้บเข้าไปแล้วทดลองดูว่าสปริงมีแรงดีดมากขึ้นแค่ไหน ถอดออกมาให่ แล้วลองหดสปริงให้กลับไปยาวเท่าเดิมดูนะครับ ว่าทำได้ไหม
นี่แหละครับ จะแก้ปัญหา บางทีก็ต้องคิดล่วงหน้าไปสักนิด ถ้าแก้ตรงนี้ได้ จะเกิดปัญหาใหม่อะไรมาหรือไม่ ถ้าฉุกคิดได้ ก็ดีไป ถ้านึกไม่ออก แล้วไปเจอปัญหาใหม่ข้างหน้า ก็ต้องตามแก้ไขกันไป จนกว่าจะยอมแพ้กันไปข้างนึงล่ะ ถ้าเราแพ้ ก็เสียเงิน ถ้าเราชนะ ก็ไม่ต้องเสียเงินซื้อตัวใหม่ เท่านั้นเอง
งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
แก้ระบบไฟ เพื่องานที่ดี ปิดเบรกเกอร์ก่อนดีกว่า
เวลาช่างไฟมาทำไฟให้เรา บางทีก็ชอบแสดงออกถึงความสามารถว่าทำงานได้เชี่ยวชาญ ทำงานแบบ Hot line ได้สบายๆ (Hot line คือ ...

ติดตั้งบล็อคไฟ ฝังกำแพง ไม่ใช่เรื่องยาก
ภาพการติดตั้งบล็อคปลั๊กไฟ หรือเต้ารับแบบฝังกำแพงเหล่านี้ ที่นำเสนอทั้งหมดในบทความนี้ เกิดขึ้นมาจากมีเวลาในช่วงนี้ ก็เลยหยิบ Hard disk เก่าๆ ที่เก็บ backup ...

เปลี่ยนโคมไฟนีออนหลอดกลม เป็นขั้วหลอดไฟเกลียว E27
โคมไฟนีออน ฟลูออเรสเซนต์หลอดกลม หรือโดนัท เป็นหลอดไฟที่มีใช้กันแพร่หลาย ใช้กันมายาวนานมากๆ จนกระทั่งหลอด LED เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆ บ้าน ...

อุดรูพุก ปิดรอยเจาะตามผนัง ด้วยวิธีง่ายๆ เติมเต็มได้ทุกรู
อุดรูพุก ปิดรอยเจาะตามผนัง ไม่ใช่เรื่องยากเลย เอาพุกออกไปแล้ว ผนังห้องจึงเป็นรู บางทีก็รู้สึกว่า เวลามีพุกอยู่บนผนังห้อง มันดูไม่น่าเกลียดเท่ากับถอดพุกออก แล้วเป็นรูโบ๋ๆ ซะอีก ...

ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...

สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า เสีย ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ
ที่บ้านสวน ใช้น้ำบาดาล โดยใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบขึ้นมาเก็บไว้ในโอ่ง แล้วค่อยดูดผ่านปั๊มน้ำอัตโนมัติไปใช้งานภายในบ้านอีกทีนึง ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง อาศัยสวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้า ในการควบคุม ซึ่งลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ เป็นชนิดมีตุ้มน้ำหนักสองตุ้ม ...

ถังแรงดันเก็บน้ำ RO ผุ รั่วซึม แก้ไขได้
การแก้ไขปัญหาถังแรงดันเก็บน้ำ ของเครื่องกรองน้ำ RO (RO = reverse osmosis) ในวันนี้ ถือเป็นความสะเพร่าของตัวเองแบบที่สุด จนเกิดเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไข ...

หม้อน้ำชักโครก น้ำรั่ว น้ำหยด ลงพื้นห้องน้ำ
หม้อน้ำชักโครก น้ำรั่ว น้ำหยด ลงพื้นห้องน้ำ แล้วปล่อยไว้แบบนั้น เรียกว่าพื้นห้องน้ำ หลังชักโครก ไม่เคยแห้ง ปัญหาอื่นๆ มันจะตามมา ...

ปลั๊กไฟ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น อย่าใช้งานอย่างประมาท
ระหว่างที่ยืนรอคิวกดเงินอยู่หน้าตู้เอทีเอ็ม ซึ่งในบริเวณนี้ เป็นอาคารก่อสร้างแบบห้องแถว หลายคูหา ฝั่งขวามือเป็นร้านค้าสะดวกซื้อ ฝั่งขวามือ เป็นร้านขายยา และมีร้านค้าเล็กๆ แบบแผงลอย ขายของอยู่ข้างหน้าห้องแถวเหล่านี้อยู่ ...

เต้ารับ ปลั๊กไฟ เสียบปลั๊กได้ไม่จำกัด หรือ?
ไหนๆ ก็พูดคุยเรื่องปลั๊กไฟกันมาแล้ว มาต่อเรื่องของปลั๊กต่ออีกหน่อย นั่นก็คือ ปลั๊กไฟ หรือเต้ารับ ที่ติดอยู่บนกำแพงบ้านของเราๆ ท่านๆ ทั้งหลายนั้น เป็นสิ่งสามัญประจำบ้านจริงๆ ...

รีวิวปลั๊กพ่วง รางปลั๊กไฟยี่ห้อ Sonic
หลังจากที่ปลั๊กพ่วงที่วางขายทั่วไป ต้องมี มอก. ทุกชิ้น ในช่วงปรับเปลี่ยนตอนแรกๆ ราคาปลั๊กพ่วงแบบทั่วๆ ไป พุ่งขึ้นไปถึง 300 กว่าบาท ...

รีวิว พัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่นใหม่ D16A-GB กับ วิธีประกอบพัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi
พัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่นใหม่ D16A-GB มีดียังไง แต่ก่อนจะเริ่มรีวิว และ วิธีประกอบพัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่น ...

เปลี่ยนใบมีด กรรไกรตัดท่อ PVC เพื่อ Upgrade
ห่างหายจากการ update เขียนบทความไปนาน จนนิ้วแทบกระดิกกดลงบนแป้นพิมพ์ ไม่เหมือนค่อยถนัด และช้าลงมากไม่เหมือนก่อนโน้นๆๆ เพราะมีภาระกิจใหม่ ในการปลูกทุเรียน ในพื้นที่ท่าใหม่ จันทบุรี ...

เลือกใช้ดอกสว่านให้ถูกกับงาน
ปัญหาเรื่องการเลือกซื้อสว่านไฟฟ้า และปัญหาการเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ดอกสว่าน มักจะเป็นปัญหาอันดับต้นๆ และเป็นคำถามที่มักจะได้รับจาก ช่างประจำบ้าน ช่างจำเป็นมือใหม่ อยู่เสมอๆ วันนี้เลยขอมานั่งพูดคุยกันถึงเรื่องของดอกสว่านสักหน่อยดีกว่า เพื่อความเข้าใจ ...