แอร์ที่เราติดกันอยู่ตามบ้าน ตามห้องนอน ตามออฟฟิศ เมื่อช่างเข้ามาทำการติดตั้งแอร์แล้ว มักจะแจ้งให้เราทราบว่า เราควรจะรับบริการล้างแอร์ด้วยอัตราความถี่ 1-2 ครั้งต่อปี หรือมากกว่านั้นแล้วแต่ความขยัน และความอยากได้เงินของช่างอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งความเป็นจริง ในส่วนของการล้างแอร์นั้น เราควรทำการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ ไม่ตกลง มีประสิทธิภาพในการทำความเย็นอย่างเต็มที่อยู่เสมอ แต่ความถี่ของการล้างนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงการใช้งานต่อวันของเรา รวมไปถึงปริมาณฝุ่นในระแวกบ้านเราด้วย ดังนั้นจึงกะเกณฑ์เป็นความถี่ตายตัวนั้นไม่ได้ แต่ละบ้านอาจจะมีความถี่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยการใช้งานเป็นหลักครับ ถ้าใช้งานบ่อย เปิดทุกวัน วันละหลายๆ ชั่วโมง อาจจะต้องทำการล้างแอร์มากกว่า 3 ครั้งต่อปี ด้วยซ้ำ นอกเรื่องไปซะแล้ว ไปๆ กลับไปสู่พัดลมก่อน
ทีนี้ วกกลับมาพูดถึงลมสามัญประจำบ้านกันบ้าง ลมที่เราได้มาจากธรรมชาติ แต่อาศัยพัดลม ดูดมาให้ความเย็นแก่เรา อ้อ ที่กล่าวมานี้หมายถึงพัดลมไฟฟ้านะ ไม่ใช่พัดลมแรงมือ จะด้วยมือตนเอง หรือมือแฟน ก็ไม่นับนะเออ แอร์ยังต้องมีล้างใหญ่ แล้วทำไมพัดลมเราไม่ทำการล้างใหญ่กันบ้างล่ะ? เคยกันบ้างไหม? หรือใช้อย่างเดียว พังก็เปลี่ยนตัวใหม่ เพราะมันถูก เช่นนั้นหรือเปล่า เพราะเท่าที่ได้เห็นและพบมาจากที่ต่างๆ ทั้งในเว็บด้วย จะมีคนพูดถึงพัดลมพังเร็วกันบ่อยๆ ทั้งนี้เราต้องพิจารณาถึงการใช้งานกันด้วย ว่าได้ไปกดขี่ข่มเหง (จับมันก้มๆ เงยๆ หันซ้าย หันขวา อย่างรุนแรง) ทุบตี (ชนจนหน้าหันเกือบทะลุไปข้างหลัง หรือทำล้ม) กันบ้างรึป่าว เพราะถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้ ก็คงไม่แคล้ว พัง ไม่ว่ายี่ห้อสุดทนยี่ห้อไหนก็ตาม
ทั้งนี้พูดไปตามประสบการณ์ที่ได้เห็นมาจากคนรู้จัก ที่เวลาจะหันพัดลมแล้วล็อคการส่าย ก็ไม่รอจังหวะให้พัดลมหมุนมาให้ตรงตัวก่อน แล้วดึงตัวล็อคขึ้น แต่กลับเลือกใช้วิธีข่มขืน ผลักมันให้หันขวับแบบสั่งแล้วต้องทำตาม แล้วดึงล็อคเลย แบบนี้ก็ทำให้เฟืองที่บังคับการส่าย ซึ่งเป็นพลาสติกรูดได้ง่ายๆ ถ้าเราทำแบบนี้บ่อยๆไม่ช้าไม่นาน พัดลมก็คงจะไม่ส่ายหน้าให้เราอีกต่อไปแล้วล่ะ พูดอะไรไป พัดลมก็เห็นด้วยตลอด เพราะส่ายหน้าไม่เป็นแล้ว ถ้าคอพัดลมมันหลวมมากๆ ก็อาจจะได้ของแถมเป็นพัดลมพยักหน้ามาอีก 1 อาการด้วย เอ้า ว่ากันไปเสียยืดยาว กลับมาที่ การล้างใหญ่พัดลมกันก่อนดีกว่า กันไว้ดีกว่าแก้ เสียเวลานิดหน่อย พัดลมจะได้อยู่กับเราได้นานๆ
ล้างพัดลมแบบหมดจด เหมือนบิ๊กคลีนนิ่ง
ขั้นตอนของการล้างใหญ่พัดลมนั้นก็ตามด้านล่างนี้เลยนะ แต่ถ้าใครอยากจะรู้แค่วิธีถอดตะแกรงและใบพัดลมออกมาล้างก็ไปที่นี่นะ วิธีถอดล้างพัดลม
Note : เนื่องจากที่บ้านนั้นใช้พัดลมยี่ห้อตามที่เห็นในภาพ แต่ขอแจ้งก่อนว่า ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับยี่ห้อแต่อย่างใด และก็ไม่ขอออกความเห็นว่ายี่ห้อนี้ดีหรือไม่ดีนะครับ เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่า ทุกยี่ห้อทนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการดูแล ซ่อมบำรุงด้วย
นายแบบตัวนี้ใช้งานมา 6 ปีแล้ว ซ่อมบำรุงกันเรื่อยๆ จะได้ใช้ทนๆ
เริ่มกันตั้งแต่ การถอดล้างปกติเลยก็แล้วกัน เพราะเคยเจอคนที่ถอดล้างใบพัดไม่เป็นอยู่บ้าง ดูไปเรื่อยๆ มีทริป แอนด์ ทริก เพิ่มเติม
ทิศทางการคลายตัวล็อคนี้ จะต้องหมุนไปทางเดียวกันกับทิศทางที่ใบพัดหมุน นั่นก็คือ ตามเข็มนาฬิกา
รู้ทิศรู้ทางแล้วก็คลายมันออกซะ
เมื่อถอดตัวล็อคใบพัดแล้ว มองดูแกน เหมือนกับจะมีสนิม ตอนล้างทำความสะอาด น่าจะเช็ดไม่แห้งแล้วประกอบเข้าไป จึงเกิดสนิม
ตอนที่เราจะประกอบกลับเข้าไป ก็ไม่ต้องให้แน่นขนาดต้องไปขนคีมอันใหญ่ๆ มาจับบิดให้แน่นหรอกนะ แค่มือหมุนพอตรึงมือก็พอ ใบพัดไม่หลุดแน่ เจ้าตัวล็อคใบพัดนี้ ผมจะไม่ล้าง เพราะถ้าล้าง มันมักจะไม่แห้ง มีหยดน้ำตกค้างอยู่ ทำให้เวลาใส่กลับเข้าไป น้ำจะไปทำให้แกนใบพัดขึ้นสนิม คราวหน้าถ้าจะถอด ก็จะถอดได้ยาก
เพียงแค่เอาผ้าเปียก เช็ดๆ ถูๆ ก็สะอาดแล้วล่ะ
ดึงใบพัดออกไปแล้ว ก็ต้องเอาตะแกรงป้องกันด้านหลังออกด้วย มองดีๆ จะเห็นตัวล็อคตะแกรงตัวนี้ บิดไปตามทิศทางปกติ ของสกรูทั่วๆ ไปได้แล้ว คือ หมุนเข้า หมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนออก หมุนทวนเข็มนาฬิกา
เอาใบพัดไปฉีดน้ำล้างทำความสะอาดได้เลย ฝุ่นเขรอะขนาดนี้
ตัวล็อคตะแกรงก็มีบอกทิศทางด้วยเหมือนกัน ว่าการล็อค จะหมุนไปทางทิศไหน สังเกตว่า ทิศทางจะตรงกันข้ามกับตัวล็อคใบพัด สาเหตุที่เวลาจะล็อคตัวล็อคใบพัดต้องหมุนสวนทางกับทิศทางการหมุนของใบพัด เนื่องจากว่า เวลาที่พัดลมทำงาน แรงเหวี่ยงของการหมุน จะทำให้ตัวล็อค เหวี่ยงตัวเองให้ล็อคแน่นขึ้น หรือถ้าล็อคคลายตัว ก็จะไม่หลุดออกมาง่ายๆ แต่หากทิศทางการล็อคที่เค้าออกแบบมา มันตรงกันข้ามกับที่เป็นอยู่ล่ะก็ เมื่อพัดลมทำงาน ใบพัดก็จะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย เพราะตัวล็อคมันจะคลายตัวออกอย่างรวดเร็ว
มองเห็นบุชไหมเอ่ย เป็นโลหะสีเงินๆ หุ้มแกนพัดลมอยู่น่ะ
ฉีดพ่นวัสดุหล่อลื่นกันเสียหน่อยในที่นี้ใช้จารบีขาวมาฉีด
ฉีดไม่ค่อยถนัด เลยจับผู้ป่วยนอนลง แล้วค่อยฉีด สะดวกดี แต่ละวังมันเยิ้มไหลลงไปด้านล่างนะ ฉีดมากเกินไปมันไม่ดี ฉีดสักปู้ดสองปู้ดก็พอละ
มาแกะกันต่อ ทีนี้ต้องพึ่งอุปกรณ์ช่วยแล้ว มือเพียวๆ แกะไม่ได้ละ ต้องใช้ไขควงไขที่ท้ายของพัดลม จะมีสกรูยึดอยู่นะ
เอาไขควงมาคลายสกรู เอาตัวล็อคไม่ให้พัดลมส่ายอันนี้ออกก่อน ค่อยๆ ไขเน้อ
ค่อยๆ ดึงออก มันมีลักษณะดังภาพนี้เลย
สกรูที่ยึดอยู่ด้านหน้านั้น ไม่ต้องถอดออกหรอก ไม่มีผลกับการถอดชิ้นส่วน เมื่อคลายสกรูที่ส่วนท้าย , ส่วนยึดกันส่าย ก็ค่อยๆ ขยับฝาครอบส่วนท้ายออกได้แล้วล่ะ
สภาพของพัดลมก็เป็นอย่างที่เห็นนั่นแล ฝุ่นมันเข้าไปมากขนาดนี้แล้ว การระบายความร้อนของมอเตอร์พัดลม ก็ยากขึ้น ลมผ่านมอเตอร์ได้น้อยลง ความร้อนสะสมขณะทำงานก็เพิ่มขึ้น อายุการใช้งานพัดลมก็จะสั้นลงโดยปริยาย
ดูอีกมุมก็ยังคงเห็นฝุ่นอยู่ดี
เพียงแค่ใช้ผ้าเช็ดถูๆ โครงภายนอกเท่านั้นก็เพียงพอ การชุบน้ำนั้นต้องชุบน้ำแบบบิดให้แห้ง อย่าเอาผ้าที่เปียกมากๆ มาเช็ดเชียวนะ แล้วก็อย่าเอาของแข็ง มาแยงๆถูๆ ไปบนขดลวดทองแดงเด็ดขาด แบบจะเอาให้เหมือนใหม่ แบบนั้นไม่ต้อง เดี๋ยวลวดทองแดงถลอกแล้วจะไปกันใหญ่ จากซ่อมบำรุง เลยกลายเป็นทำให้พัดลมเสียไปซะอีก ต้องมีความพอดีบ้าง
เฟืองชุดนี้ สอนให้พัดลมรู้จักส่ายหน้าหนีเรา ซ้ายทีขวาที แต่ถ้ามันพังไปคนข้างๆ อาจจะร้อนแล้วหนีหน้าเราไปด้วยแล้วจะยุ่ง
จะฉีดจารบีขาว หรือน้ำมันเข้าไปที่แกนอีกด้านหนึ่งของพัดลม ก็ไม่ถนัด คงต้องแกะเพิ่มอีกหน่อย
ด้านบนของชุดเฟืองนั้น จะมีฝาครอบปิดส่วนบนไว้ เฟืองชุดนี้จะขบกับแกนใบพัดอยู่ มีสกรูอยู่สองตัวค่อยๆ ถอดออก
ก่อนจะไขสกรูอีกตัวออก สังเกตเจ้าก้านขาวๆ นั้นให้ดี มันคือก้านที่จะดึงขึ้น หรือกดลง เพื่อให้พัดลมหยุดหมุน ก็ดึงขึ้นให้สุดก่อน เพราะมันจะมีลูกปืน(ลูกเหล็กเม็ดกลมๆ)ติดอยู่กับก้าน จะได้ไปพักอยู่ในตำแหน่งบน ไม่หล่นหายไปไหนได้ตอนเราถอด ทีนี้น็อตอีกตัวนึง ถอดออกด้วย
ทีนี้ก็ยกทั้งก้านล็อคการส่าย แล้วก็ฝาปิดสีดำๆ ขึ้นได้ จากนั้นเราก็จะได้เห็นเฟืองที่ทำให้พัดลมส่ายหน้าได้ ซึ่งเฟืองก็จะขบอยู่กับแกนทุ่นของมอเตอร์พัดลม และเป็นแกนเดียวกันกับที่ต่อกับใบพัด พัดลมนั่นเอง
เฟืองกับก้านใบพัด ดูเหมือนของเล่นไหม ไม่สิ ต้องบอกว่า ของเล่นเด็กๆ อย่างรถที่ใช้ถ่านทั่วๆไป ก็มีเฟืองเหมือนแบบนี้ด้วยเช่นกัน
ถอยออกมาห่างจากตัวพัดลมนิดนึง เราจะได้มองเห็นกันชัดๆ ว่าเฟืองที่ทำให้พัดลมส่ายหน้าได้นี้ มันอยู่ตรงส่วนไหนกัน
ฉีดสารหล่อลื่นลงไปในบริเวณ บุช
จารบี หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ hardware ต่างๆ คุณภาพกับราคาก็มักจะแปรผันตรงเสมอ อย่าใช้จารบีที่มีความหนืดสูง แบบสีแดง สีเขียว เมื่อน้ำมันในจารบีแห้งไป มันจะกลายเป็นว่า จารบีที่ใส่ลงไปยิ่งทำให้พัดลมฝืดกว่าเดิม
ป้ายจารบีลงไปที่ เฟืองพลาสติกและเฟืองของก้านพัดลม
ใช้ทิชชู่ทำความสะอาดก่อน ถ้าเฟืองดูสกปรก อันเกิดจากฝุ่นไปรวมตัวกับจารบีเก่า เราควรทำความสะอาดก่อน โดยใช้กระดาษทิชชู่ หรือผ้าเช็ด แล้วก็ป้ายจารบีใหม่ลงไปได้เลย ไม่ต้องถึงกับนำไปล้างทำความสะอาด
เจ้าก้านดึง เพื่อจะสั่งให้พัดลมตัวดีหยุดส่ายหน้าหนี ก็ต้องเช็ดทำความสะอาด แล้วป้ายจารบีลงไปใหม่ด้วยเหมือนกัน
ป้ายจารบีเรียบร้อย พร้อมประกอบร่างได้แล้ว
เฟืองชุดที่อยู่ในกล่องนั้น สังเกตว่า ไม่ค่อยจะสกปรก เพราะฝุ่นมันเข้าไปในกล่องไม่ได้นั่นเอง นี่ก็ใส่จารบีไปแล้ว
จัดการฝุ่นหมดแล้ว ก็ประกอบร่างเข้าไปเหมือนเดิมได้ ดูดีขึ้นเยอะไหมล่ะ
ทริปแอนด์ทริกสักเล็กน้อย กระดาษทิชชู่สักแผ่น ม้วนเป็นเกลียวแบบหลวมๆ จะถูกนำไปเช็ดหยดน้ำที่ใบพัด ที่ล้างเสร็จมาแล้ว
ถ้าเราล้างใบพัดมาแล้วใช้วิธีเช็ดให้แห้ง ไม่ใช่ตากแดดให้แห้งแล้วล่ะก็ บริเวณใจกลางใบพัดนี่แหละ ที่จะมีหยดน้ำค้างๆ อยู่ถ้าสวมใส่เข้าไปที่แกนพัดลมเลย ก็จะทำให้แกนพัดลมขึ้นสนิมได้ ใส่น่ะใส่ได้ แต่คราวหน้าถอดอาจจะเกิดความยุ่งยากได้ เพราะสนิมที่เกาะอยู่เต็มแกน ดังนั้นก่อนจะใส่เข้าไปก็เช็ดให้แห้งสักหน่อย โดยการใส่กระดาษทิชชู่เข้าไป แล้วก็ดึงโลด
หมดจบสิ้น กระบวนการบิ๊กคลีนนิ่งพัดลมกันแล้ว ก็ประกอบกลับเข้าไปให้เหมือนเดิม ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้วล่ะ แล้วดูซิว่า พัดลมทำความสะอาดมาใหม่ๆ จะเย็นขึ้นบ้างไหมนะครับ
งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าปลั๊กไฟเสีย ผิดปกติ อย่าคิดใช้งาน
ปลั๊กไฟที่เราใช้งานตามปกติทุกๆวัน ถ้าหากพบว่ามีความผิดปกติ เกิดขึ้น ทั้งรอยแตก รอยหัก ขาปลั๊กยุบ ควรหลีกเลี่ยง อย่านำไปใช้งานเด็ดขาด ถ้าเรามีความรู้ สามารถแก้ไขได้เองก็ควรรีบทำ ...
ปลั๊กไฟ ที่ถูกน้ำท่วม ถูกน้ำฝน นานๆ ใช้งานได้ไหม?
เรื่อง ปลั๊กไฟ หรือเต้ารับถูกน้ำท่วม ในบทความวันนี้เกิดจากการค้นหารูปภาพเก่าๆ ในฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าๆ ที่เก็บภาพ Backup เอาไว้นานแล้ว ไปเห็นภาพปลั๊กไฟที่ถูกน้ำท่วม ตั้งแต่ช่วงน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ...
ล้างหัวฝักบัวอาบน้ำ ทำความสะอาดได้ ล้างได้หมดจด
วันนี้มาดูวิธีล้างหัวฝักบัวอาบน้ำกันดีกว่า เพราะเชื่อแน่ว่าปัญหา หัวฝักบัวสกปรก เลอะเทอะจากคราบหินปูนสะสม หรือสิ่งสกปรกไปเกาะ ไปหลบอยู่ภายในหัวฝักบัว ทำให้สายน้ำที่ควรจะไหลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และไหลออกมาจากรูทุกๆ รูของหัวฝักบัวเท่าๆ ...
ดูแลรักษาแม่กุญแจด้วยน้ำมันเอนกประสงค์
บทความก่อนหน้านี้เคยพูดถึงการดูแลรักษาแม่กุญแจด้วยการใส่จารบีมาแล้ว แต่วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการดูแลด้วยการหยอด หรือฉีดน้ำมันกันบ้าง ซึ่งขอเลือกเป็นน้ำมันเอนกประสงค์ที่แต่ละบ้าน ในปัจจุบัน จะรู้จัก คุ้นเคยกันพอสมควรแล้ว เชื่อว่า น่าจะมีกันแทบทุกบ้านด้วยแน่นอน ไม่ว่ายี่ห้ออะไร ...
สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า เสีย ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ
ที่บ้านสวน ใช้น้ำบาดาล โดยใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบขึ้นมาเก็บไว้ในโอ่ง แล้วค่อยดูดผ่านปั๊มน้ำอัตโนมัติไปใช้งานภายในบ้านอีกทีนึง ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง อาศัยสวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้า ในการควบคุม ซึ่งลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ เป็นชนิดมีตุ้มน้ำหนักสองตุ้ม ...
ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...
ซ่อมก๊อกน้ำบอลวาล์ว ก๊อกห้องน้ำ น้ำรั่ว น้ำซึม หยดไม่หยุด
ก๊อกน้ำชนิดบอลวาล์ว (ก๊อกสนามก็เป็นหนึ่งในก๊อกบอลวาล์ว) เป็นก๊อกน้ำที่ใช้งานง่าย เวลาจะเปิดน้ำก็บิดหมุนเพียง 1/4 รอบ หรือ 90 องศา น้ำก็ไหลผ่านได้เต็มที่แล้ว ...
ก๊อกน้ำหยด มีน้ำรั่ว ถ้าก๊อกน้ำเสื่อมสภาพ ก็ซ่อมไม่ได้
ในยุคที่อะไรๆ ก็แพง ยุคที่กำเงินร้อยไปตลาด แล้วแทบจะไม่ได้ของกินอะไรติดมือกลับมาบ้านเลย ยุคที่ควรจะประหยัดเงิน ประหยัดตังค์ กับสิ่งของเครื่องใช้รอบๆ ตัว อะไรซ่อมได้เราก็ควรซ่อม ถ้าซ่อมไม่ได้ค่อยพิจารณาเรื่องการทิ้งอีกทีนึง ...
ปลั๊กสามตา เสียบปลั๊กพัดลม แล้วระเบิด จนเบรคเกอร์ตัด เพราะ?
ปลั๊กสามตา คืออุปกรณ์เสริม เพื่อขยายช่องเสียบไฟของปลั๊กไฟ ให้มีจำนวนมากขึ้น แต่ปลั๊กสามตา คุณภาพต่ำ ยังมีขายอยู่ทั่วไป ซึ่งปลั๊กเจ้าปัญหาที่ได้รับมา เป็นสินค้าที่ซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าร้านไหน ...
อ่างล้างมือ อ่างล้างหน้า ใช้ก๊อกน้ำอ่างล้างจาน ชีวิตก็ง่ายขึ้น
งานช่าง หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไป เรามักจะคุ้นเคยกับสิ่งที่เคยผ่านตามา มองเห็น และจดจำ จนในที่สุด ไม่ค่อยมีใครกล้าที่จะเปลี่ยน และไม่คิดว่ามันจะทำได้ ...
รีวิว แอร์เคลื่อนที่ เมื่อร้อนนี้ พัดลมไอน้ำ เอาไม่อยู่
หน้าร้อนมาถึง ความร้อนมาเยือน แค่พัดลมธรรมดาๆ ใบพัดเล็กๆ ใช้ไม่ได้ผล ใบพัดใหญ่ๆ เสื้อผ้า ผมปลิวไสว ก็เอาไม่อยู่ พัดลมไอน้ำแค่พอทุเลา ...
ปั๊มน้ำอัตโนมัติราคาถูก ยี่ห้อไม่คุ้นหู ต้องระวัง
บทความวันนี้ไม่รู้จะตั้งชื่อหัวข้อว่าอย่างไรเหมือนกัน เพราะปัจจุบันนี้ ปั๊มน้ำแบบเปลือยๆ หน้าตาคล้ายๆ หรือเหมือนกันแบบนี้ มีขายทั่วไปหมด แถมยังได้รับการตอบรับดีเสียด้วย ทำให้เจ้าตลาดเดิมๆ ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ยี่ห้อ ทำตลาดได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ...
เลือกสว่านไฟฟ้าให้ถูกใจ ช่างประจำบ้าน ช่างจำเป็น
วันนี้ขอมาพูดคุยเรื่องของสว่านไฟฟ้า เครื่องไม้เครื่องมือสามัญประจำบ้าน อีกชนิดหนึ่ง ที่ขาดไม่ได้เลย เพราะเราคงไม่ตามตัว หรือเรียกช่างที่คุ้นเคยมาที่บ้าน เพื่อต้องการให้เจาะรูสกรูยึดรูปภาพสักรูปนึงหรอก ใช่ไหมครับ (แต่ถึงแม้จะเรียกจริงๆ ช่างก็คงจะไม่มาแน่ๆ ...
วิธีใช้ไม้วัดระยะลึก หรือแท่งวัดความลึกของสว่านไฟฟ้า
วันนี้ขอพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มักจะแถมมาพร้อมๆ กับสว่านไฟฟ้าเสมอๆ แต่ว่าเรามักจะไม่ค่อยได้นำมาใช้งานกัน นั่นก็คือ ไม้วัดระยะความลึก หรือก้านวัดระยะ หรือแท่งวัดระยะ จะเรียกยังไงก็ตาม บางคนก็ไม่รู้ว่าจะนำมาใช้งานยังไง หรือบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้ ...
อ่าว สอนแต่ตอนถอด ไมตอนใส่กลับผมเหลือน็อตอยุ่1ตัวล่ะทีนี้
ขอโทษครับ 🙁 คราวหน้าจะพยายามจัดทำให้ละเอียดกว่านี้นะครับ ว่าแต่ตอนนี้หาที่ใส่ได้เจอแล้วใช่ไหมครับ?
จะลองทำดูบ้างเลย ขอบคุณค่ะ