หลังจากที่ปลั๊กพ่วงที่วางขายทั่วไป ต้องมี มอก. ทุกชิ้น ในช่วงปรับเปลี่ยนตอนแรกๆ ราคาปลั๊กพ่วงแบบทั่วๆ ไป พุ่งขึ้นไปถึง 300 กว่าบาท จนถึง 400 กว่าบาท จากก่อนหน้านี้ หาซื้อได้กันในราคาไม่ถึง 100 หรือ 100 กว่าบาทก็หาได้ง่ายๆ เมื่อราคาพุ่งไปขนาดนั้น คิดว่า การซื้อน่าจะน้อยลง จนกระทบกับยอดขายหรือไม่ อย่างไรก็ไม่ทราบ ปัจจุบัน ปลั๊กพ่วงที่ผ่าน มอก. และราคาไม่ถึง 200 เริ่มมีวางจำหน่ายกันมากขึ้น หลายยี่ห้อ ทำทั้งชนิดราคาเบา และราคาแพง ที่เต็มไปด้วยคุณภาพ เพราะไม่ต้องการเสียส่วนแบ่งการตลาดไปให้กับยี่ห้อใหม่ๆ
หลังจากไปเดินช็อปหาซื้อปลั๊กพ่วงเส้นใหม่ มาใช้งานแบบเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ ก็เลยมองหาปลั๊กไฟแบบราคาเบาๆ แต่มี มอก. รับประกันตัวสินค้าพ่วงมาด้วย ทำให้วางใจได้ในระดับนึง ในราคาไม่ถึง 200 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคาก่อนหน้าที่ปลั๊กไฟจะถูกบังคับให้ต้องมี มอก. มากๆ ดูน่าสนใจดี จึงเลือกปลั๊กพ่วงยี่ห้อ Sonic กลับมาบ้านด้วย เพราะความอยากรู้ล้วนๆ ว่าตรงตามมาตรฐาน แต่อยู่ในระดับราคาถูกแบบนี้ จะมีอะไรบ้าง
การนำยี่ห้อนี้มารีวิว ไม่ได้หมายความว่ายี่ห้อนี้ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ ในระดับราคาเดียวกัน หรือใกล้กันนะครับ อย่าไปเหมารวมว่าผมนำมารีวิว แสดงว่ามันดี หรือดีมาก อย่างไร เพียงแต่ผมพบยี่ห้อนี้ก่อน ในเวลาที่ต้องการ ไหนๆ ซื้อมาแล้วก็นำมาแกะให้ดูกัน เท่านั้นเอง
ก่อนจะเริ่มแกะซอง หีบห่อ นำรางปลั๊กไฟ ปลั๊กพ่วง Sonic ตัวนี้มาทำการชำแหละ งัดแงะ ต้องอ่านสิ่งที่เค้าพยายามบอกกับเราบนหีบห่อเสียก่อน ความจริงก็อ่านมารอบนึงแล้วล่ะ ตั้งแต่ตอนซื้อ แต่จะนำมาบอกเล่า ดูไปพร้อมๆ กันอีกทีนึง สิ่งเหล่านี้ควรฝึกให้ชิน อ่านข้อแนะนำต่างๆ ที่ติดอยู่บนหีบห่อของตัวผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง ดีกว่าคอยถามคนขาย หรือพนักงานที่ยืนแถวๆ นั้น เพราะบางทีก็ให้คำตอบที่ไม่ค่อยตรงกับตัวสินค้าสักเท่าไหร่ด้วยครับ
ปลั๊กไฟ Sonic ยี่ห้อนี้ รับประกันถึง 5 ปี ทีเดียว
มี มอก. 2432-2555 ประทับรับรองอยู่ เป็นปลั๊กพ่วงที่มีมอก. แน่นอนวางใจได้นะ ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดจริงๆ ว่ามอก. ตัวนี้ ทดสอบอะไรบ้าง ขอแนะนำให้ไปอ่าน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ในราชกิจจานุเบกษา
Max Load ตรงนี้ ที่เราต้องสังเกตให้ดีๆ เวลาซื้อปลั๊กพ่วง หลายคนนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า แบบ พ่วงแล้วพ่วงอีก ต่อกันไปไม่รู้กี่ต่อ ต้องระวังให้ดีๆ ซึ่งในการใช้งานจริงๆ ก็ไม่ควรจะเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้า จนถึงพิกัดกระแส max load ตัวนี้ด้วยนะ 10A 2500W เป็นขนาดพิกัดมาตรฐาน ที่พบเห็นโดยทั่วไปในตลาดอยู่แล้ว
สวิตช์เปิดปิด ปลั๊กพ่วงไฟฟ้า Sonic ตัวนี้ก็มีมาตรฐานด้วยเช่นกัน แต่ไม่ใช่ มอก. อย่างที่เราคุ้นเคยกัน แล้ว มาตรฐาน IEC นี้คืออะไร? ตอบ IEC เป็นองค์กรอิสระที่เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศ ทางด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติม ตามไปอ่านที่นี่ International Electrotechnical Commission – IEC นะครับ แต่มาตรฐานเหล่านี้ เค้าเทียบกันไปมาได้ จึงเป็นที่ยอมรับได้
Sonic ใช้สายไฟมาตรฐานเช่นเดียวกัน วางใจได้
เจ้า Surge Projector ตัวนี้ จริงๆ แล้วมันก็คือ Metal Oxide Varistor (MOV) Surge Protector นั่นเอง เดี๋ยวแกะดูภายในแล้วจะเห็นกัน
ปลั๊กพ่วงยี่ห้อนี้ ติดคำอธิบาย ส่วนต่างๆ เอาไว้หมดแล้วว่า ตามมาตรฐานอะไรบ้าง นี่เป็นมาตรฐานย่อยๆ ในมาตรฐาน มอก. 2432-2555 อีกทีนึง ไม่เหมือนกับที่ผ่านๆ มา ปลั๊กพ่วงราคาต่ำกว่าร้อย ติดเอาไว้ว่าได้มาตฐานมอก. แต่มีเพียงแค่สายไฟอย่างเดียวเท่านั้น ที่มีมาตรฐาน นอกนั้นเป็นเหล็ก ไม่ใช่ทองแดง ไม่ใช่ทองเหลือง แต่เป็นเหล็กล้วนๆ สิ่งห่อหุ้มก็ลุกติดไฟง่าย เมื่อโดนความร้อน จนต้องออกมาตรฐาน ปลั๊กพ่วงไฟฟ้า มอก.2432-2555 มาบังคับใช้ แต่ถึงอย่างไร ตามตลาดนัด ก็ยังพบเห็นปลั๊กพ่วงไฟฟ้า ไร้มาตรฐานอยู่ ซึ่งถ้าถาม ก็คงบอกว่าเป็นสต็อกเก่า ที่ยังขายไม่หมด ขอผ่อนผัน อีกเป็นแน่
ยังมีเขียนอีกมากมายหลายอย่างทางด้านหลัง ซองใส่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็เป็นคำอธิบายถึงมาตรฐานปลั๊กพ่วงที่ได้รับ ขอไม่นำให้ดูแล้วกัน เดี๋ยวรูปจะเยอะเกินไป
ปลั๊กพ่วงมาตรฐาน มอก. ตัวนี้ ถ้ามองเผินๆ ก็ไม่ต่างจากปลั๊กพ่วงราคาถูกๆ เมื่อก่อนนี้เลย แต่กว่าจะได้มาตรฐานมา ก็ต้องผ่านมาตรฐานภายนอก ที่มองเห็นได้ เช่น มีม่านนิรภัย และการทดสอบป้อนไฟด้วยเช่นกัน ซึ่งเอาจริงๆ นี่ปลั๊กไฟคุณภาพดีหลายยี่ห้อ ที่เราใช้งานกันก่อนมาตรฐาน มอก. ตัวนี้จะออก ก็ผ่านเกือบทุกข้อแล้ว
มาตรฐานสายไฟฟ้าตัวนี้ มอก. 5-2553 มอก. ที่ปลั๊กพ่วงราคาถูกๆ ชอบนำมาเหมารวมว่าปลั๊กที่ขายอยู่นั้นได้มาตรฐาน ซึ่งต้องจำให้ดี ต่อไปนี้มองหาแต่ มอก. 2432-2555 เท่านั้น
สวิทช์เปิดปิดแบบนี้ น่าจะคุ้นเคยกันดี เปิดแล้วมีแสงไฟแสดงว่า เปิดอยู่ แต่หน้าตาเหมือนกัน ไม่ได้หมายความว่า คุณภาพสินค้าจะเหมือนกันเสมอไปนะครับ เหมือนกับปาทังโก๋เหมือนกัน ที่อร่อยไม่เหมือนกัน นั่นแหละ ยี่ห้อนี้เค้ารับประกันว่า ตัวสวิทช์ผ่านมาตรฐาน IEC
เบรคเกอร์ตัดไฟ ปุ่มสีแดงๆนี้จะเด้งขึ้นมา ถ้าเสียบปลั๊กไฟ แล้วไฟไม่ติด เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงาน บางทีเราอาจจะเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินไป ถอดออกเสียบ้าง แล้วมากดปุ่มสีแดงๆ ตัวนี้ เพื่อรีเซ็ตเบรคเกอร์ให้กลับมาปล่อยไฟอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าตัดซ้ำ ให้พิจารณาเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นรายตัว โดยดึงปลั๊กไฟออกทั้งหมด แล้วค่อยๆ เสียบไล่ไปทีละตัว ว่าตัวไหนที่ทำให้เบรคเกอร์ตัวนี้ตัดไฟ แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นช็อตแล้ว ให้นำส่งซ่อม อย่าใช้งานต่อเด็ดขาด ซึ่งเบรคเกอร์ตัวนี้ถูกนำมาใช้แทนฟิวส์ ที่บางยี่ห้อชอบนำมาใช้ในสมัยก่อน
สำรวจภายนอกเสร็จ ก็ต้องชำแหละดูภายในกันต่อ ว่ามีอะไร อย่างไร เบื้องต้น จะมองเห็นว่า ช่องเสียบทั้งหมด ไม่ได้เป็นโมดูลแยกส่วนออกมาเป็นคู่ๆ เหมือนปลั๊กไฟราคาแพง แต่ใช้แผ่นโลหะทองเหลือง พับ ดัดสวมลงไปในช่องของใครของมันอย่างที่เห็นในภาพ มีสวิทช์ และเบรคเกอร์ที่ใช้งานได้จริงๆ
เอาล่ะ จัดการชำแหละภายในให้ดูหมดแล้ว จากสภาพที่เห็น ต้องถือว่าเป็นปลั๊กไฟที่มีคุณภาพตามสมควรแก่ราคา และมี มอก. มาตรฐานใหม่ รับรองอย่างถูกต้อง เมื่อเทียบกับปลั๊กไฟ คุณภาพดีสักตัวหนึ่ง ก่อนที่มาตรฐาน มอก. ใหม่จะถูกบังคับใช้ ปลั๊กตัวนี้ก็จัดอยู่ในกลุ่มนั้นได้เลยครับ
ปัจจุบันต้องถือว่า การเลือกซื้อปลั๊กพ่วงไฟฟ้า ยังมีความหลากหลายพอสมควร เมื่อเทียบกับช่วงที่ มอก. ปลั๊กพ่วงใหม่ เพิ่งจะประกาศใช้ พบเห็นแต่ระดับราคา 300 บาทขึ้นไปทั้งนั้น ซึ่งมาพร้อมกับคุณภาพที่ดีจริง แต่ก็ทำให้ผู้ซื้อชะงักกันไปพอสมควร เมื่อพบกับราคาที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ผลิตก็เริ่มที่จะต้องหาทางปรับเปลี่ยน ลดต้นทุนให้ได้ ในขณะที่ต้องให้ผ่านเกณฑ์ มอก. 2432-2555 ให้ได้ด้วย จึงเริ่มมีปลั๊กพ่วงไฟฟ้า ที่ระดับราคาเกือบๆ 200 บาทออกมาให้ซื้อกันได้ แต่คุณภาพก็จะบอกว่าเทียบเท่ากับราคาสูง ก็คงไม่ใช่ เอาแค่ความหนาของชิ้นส่วนหน้าสัมผัสของปลั๊กไฟ ก็แตกต่างกันแล้ว เพียงแต่โอกาสที่จะเกิดอันตรายจากปัญหาปลั๊กพ่วงไร้คุณภาพ เช่น ปลั๊กพ่วงที่ใช้เหล็กมาทำหน้าสัมผัส หรือโลหะที่ใช้ทำหน้าสัมผัสไม่มีคุณภาพ หรือบางจนเกินไป จะไม่มีอีกต่อไปในท้องตลาด (ถ้าไล่จับได้หมดนะครับ)
งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าขั้วหลอดไฟนีออนกลมคุณภาพต่ำ อันตรายกว่าที่คิด
สืบเนืื่องจากบทความที่ผ่านมา ขั้วหลอดไฟนีออนกลมหลวม อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม ทำให้เกิดปัญหาค้างคาใจ ทำไมหลวมง่ายจัง ทั้งๆ ที่เพิ่งจะเปลี่ยนขั้วหลอดไฟไปไม่นาน แต่จำไม่ได้ว่าซื้อมาจากที่ไหน ในห้าง หรือร้านค้าหน้าปากซอยบ้าน ...
ปลั๊กไฟละลาย ปลั๊กไฟไหม้ อันตรายใกล้ตัว
ปลั๊กไฟละลาย หรือ ปลั๊กไฟไหม้ ปลั๊กไฟร้อน จนปลั๊กละลาย อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว และต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง เหตุการณ์ในวันนี้เกิดขึ้นจากกระติกน้ำร้อนชนิดร้อนเร็ว เสียบไฟไม่นานน้ำก็เดือด น้ำมาชงชา ...
เปลี่ยนสะดืออ่างล้างหน้า แบบแยกชิ้นส่วน เรื่องง่ายๆ
เปลี่ยนสะดืออ่างล้างหน้าเอง ไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อเราพบว่า สะดืออ่างล้างหน้าของเรา ชำรุด หรือเก่ามากแล้ว โครเมี่ยมแวววาว ที่เคยเคลือบพื้นผิวอยู่หลุดลอก ล่อน หรือถูกขัดจนหายไปหมดแล้ว ...
ติดตั้งกันกระแทกประตูห้อง กันชนประตู กันชนประตูแม่เหล็ก ง่ายมาก
Door Stopper หรือ ที่เรียกกันในภาษาไทยที่คุ้นเคยว่า กันกระแทกประตูห้อง กันชนประตู แต่เรียกว่ากันชนเฉยๆ แค่คำเหล่านี้ ก็อาจจะใช้เรียกกันชนบางประเภทไม่ได้ เพราะทำหน้าที่ยึดประตูไปด้วยในตัว ...
ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...
สวิทช์ลูกลอยไฟฟ้า เสีย ไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ
ที่บ้านสวน ใช้น้ำบาดาล โดยใช้ปั๊มน้ำบาดาลสูบขึ้นมาเก็บไว้ในโอ่ง แล้วค่อยดูดผ่านปั๊มน้ำอัตโนมัติไปใช้งานภายในบ้านอีกทีนึง ซึ่งการควบคุมระดับน้ำในโอ่ง อาศัยสวิทช์ลูกลอย หรือลูกลอยไฟฟ้า ในการควบคุม ซึ่งลูกลอยไฟฟ้าแบบนี้ เป็นชนิดมีตุ้มน้ำหนักสองตุ้ม ...
ถังแรงดันเก็บน้ำ RO ผุ รั่วซึม แก้ไขได้
การแก้ไขปัญหาถังแรงดันเก็บน้ำ ของเครื่องกรองน้ำ RO (RO = reverse osmosis) ในวันนี้ ถือเป็นความสะเพร่าของตัวเองแบบที่สุด จนเกิดเป็นปัญหาให้ต้องแก้ไข ...
วิธีแก้ ก๊อกน้ำอ่างล้างหน้าน้ำหยด น้ำรั่ว ซ่อมได้
ก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า, Stop valve หรือแม้กระทั่งก๊อกน้ำอ่างล้างจาน ที่วางขายกันทั่วไปเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ใช้ลูกยางดำๆ ทำหน้าที่กั้นน้ำให้หยุดไหลเมื่อเราปิดก๊อกน้ำอีกต่อไปแล้ว แต่ถูกแทนที่ด้วยชิ้นส่วนที่ทำจากเซรามิค ซึ่งตามความเป็นจริง ก๊อกน้ำที่ใช้วาล์วเซรามิค ...
เห็นช่างทำ อยากทำเองบ้าง ต้องเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติ
วันนี้ขอเล่าเรื่องเป็นกรณีศึกษาสักหน่อย เป็นเรื่องราวของงานช่างประปา ซึ่งความจริง งานช่างด้านอื่นๆ ก็น่าจะเกี่ยวข้องด้วยเหมือนกัน ส่วนภาพประกอบ เกี่ยวอะไรกับเรื่องที่จะพูด เดี๋ยวมีเฉลยครับ เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้มีโอกาสได้ผ่านไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ...
ปลั๊กไฟ หรือเต้ารับ ไม่ควรติดตั้ง ไว้ในจุดที่โดนฝน
ปลั๊กไฟ หรือเต้ารับ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหน้าสัมผัสทางไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับสายไฟหุ้มฉนวน PVC ที่ใช้เดินไฟกลางแจ้งกันทั่วไปแบบนั้น แต่การติดตั้งปลั๊กไฟ จำเป็นที่จะต้องอยู่ในพื้นที่ ที่ไม่โดนฝนสาด หรือเสี่ยงที่จะโดนฝนสาด ...
ปั๊มน้ำอัตโนมัติราคาถูก ยี่ห้อไม่คุ้นหู ต้องระวัง
บทความวันนี้ไม่รู้จะตั้งชื่อหัวข้อว่าอย่างไรเหมือนกัน เพราะปัจจุบันนี้ ปั๊มน้ำแบบเปลือยๆ หน้าตาคล้ายๆ หรือเหมือนกันแบบนี้ มีขายทั่วไปหมด แถมยังได้รับการตอบรับดีเสียด้วย ทำให้เจ้าตลาดเดิมๆ ที่มีอยู่เพียงไม่กี่ยี่ห้อ ทำตลาดได้ยากขึ้นเรื่อยๆ ...
หัวแปลงปลั๊กไฟ ปลั๊กแปลงขา หากซื้อมาใช้ ต้องเลือกให้ดี ภาค2
ในบทความหัวแปลงปลั๊กไฟตอนที่ผ่านมา ผมได้เอาตัวอย่างหัวแปลงปลั๊กไฟบางส่วนที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาด ทางรุ่นก็หมดไปแล้ว แต่บางรุ่นก็ยังเห็นวางขายกันอยู่ มางัดแงะ ให้ดูไส้ในกันว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะได้พิจารณากันดูในขณะเลือกซื้อ ตัดสินใจให้ดีก่อนซะจ่ายเงิน บางครั้งรูปร่างภายนอกดูดี ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่อยู่ภายในจะสวยงามเสมอไป ...
วิธีใช้ไม้วัดระยะลึก หรือแท่งวัดความลึกของสว่านไฟฟ้า
วันนี้ขอพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มักจะแถมมาพร้อมๆ กับสว่านไฟฟ้าเสมอๆ แต่ว่าเรามักจะไม่ค่อยได้นำมาใช้งานกัน นั่นก็คือ ไม้วัดระยะความลึก หรือก้านวัดระยะ หรือแท่งวัดระยะ จะเรียกยังไงก็ตาม บางคนก็ไม่รู้ว่าจะนำมาใช้งานยังไง หรือบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้ ...
วิธีขูดร่องยาแนวเก่า ด้วยใบเลื่อยโลหะ
การปูกระเบื้องโดยทั่วไป ไม่ว่าพื้นห้องน้ำ พื้นครัว หรือพื้นบ้านส่วนอื่นๆก็ตาม หลังจากที่ช่างได้ปูกระเบื้อง และทิ้งไว้จนแห้งแล้ว จะต้องลงยาแนวด้วย ยาแนวในศัพท์ทางช่าง จะหมายถึงการอุดช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องด้วยผงยาแนว หรือปูนยาแนว ...