โคมไฟนีออน ฟลูออเรสเซนต์หลอดกลม หรือโดนัท เป็นหลอดไฟที่มีใช้กันแพร่หลาย ใช้กันมายาวนานมากๆ จนกระทั่งหลอด LED เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างในปัจจุบัน ซึ่งหลายๆ บ้าน เริ่มจะค่อยๆ เปลี่ยนโคมไฟ หลอดไฟกลมๆ แบบเดิมๆ เหล่านี้มาเป็นหลอด LED กันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรื่องของความประหยัดไฟ ที่ใครๆ ก็ชักชวน และนำเสนอกันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ หลายๆ คน ตัดสินใจทิ้งสิ่งที่มีอยู่แล้ว รื้อทิ้งเพื่อเปลี่ยนเป็นของใหม่ตามกระแส ส่วนหลอดสำรองที่ซื้อเก็บไว้ ก็ทิ้งไปหมดในคราวเดียวกัน เพื่อความใหม่ตามกระแส

บทความวันนี้จะขอนำเสนอ วิธีการ เปลี่ยนโคมไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์กลมๆ ด้วยการแก้ไข ดัดแปลง มาเป็นขั้วหลอดไฟเกลียว E27 ซึ่งเป็นขาสำหรับสวมหลอดไฟ LED ลูกบอลกลมๆ เป็นการประหยัดเงิน ไม่ต้องเปลี่ยนทั้งโคมไฟ โดยเราจะเปลี่ยน และติดตั้งขั้วหลอดไฟใหม่ โดยไม่ถอดโคมไฟลงมา ซึ่งทำได้ง่ายมากๆ ไม่ยุ่งยากเลย แล้วเราจะมาพูดถึงข้อดี และข้อเสีย ของการปรับปรุงโคมไฟนีออน หรือฟลูออเรสเซนต์หลอดกลมแบบเดิมๆ เป็นโคมไฟใหม่ประหยัดพลังงาน กันในบทความถัดไปนะครับ ไม่งั้นบทความนี้จะยาวเกินไป
ขอไม่พูดถึงขั้นตอนการถอดชิ้นส่วน อุปกรณ์ต่างๆ เดิมๆ ได้แก่ หลอดไฟนีออน หรือฟลูออเรสเซสต์ บัลลาสต์ และสตาร์ทเตอร์ ที่ติดอยู่ในโคมไฟ ออกจากตัวโคมไฟนะครับ เพื่อความกระชับของเนื้อหา ส่วนใครถอดไม่ได้ ถอดไม่เป็น ขอให้กลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ ในหัวข้อวิธีเปลี่ยนบัลลาสต์อิเล็คทรอนิคส์ แทนที่บัลลาสต์แกนเหล็ก รับรองว่า ถอดเป็นแน่นอนครับ เพราะอธิบายเป็นขั้นเป็นตอน ละเอียดมาก ขอบอก
ถึงแม้จะไม่พูดถึงขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนต่างๆ ซ้ำอีกครั้ง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด และไม่พูดถึงไม่ได้เด็ดขาด นั่นคือเรื่องของความปลอดภัย ก่อนจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทุกครั้ง ควรจะปิด เบรคเกอร์ย่อย หรือถ้าเป็นไปได้ ปิดเมนเบรคเกอร์ไปเลยครับ เพื่อความปลอดภัย




เมื่อปิดเบรคเกอร์เรียบร้อยแล้ว ค่อยมาลุยถอดอุปกรณ์ต่างๆ และเมื่อถอดอุปกรณ์เก่าออกจนหมดแล้ว ก็จะเหลือเพียงโคมไฟโล่งๆ และมีหน้าตาแบบที่เห็นนี้นะครับ


ใช้คีมจับน็อตตัวเมีย อีกมือนึงกดที่โคมไฟให้แนบกับฝ้าเพดาน หัวน็อตตัวผู้ ก็จะแนบกับฝ้าเพดานด้วย แล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อคลายน็อตตัวเมียออก


แต่ถ้าหัวน็อตตัวเมียคลายออกแล้ว ใช้มือหมุนออกก็ได้ ทำงานได้สะดวกกว่า


ปลดเอาขายึดหลอดไฟนีออน หรือฟลูออเรสเซนต์เดิมออกมา เดี๋ยวเราจะเอาชิ้นส่วนนี้มาดัดแปลง


เราต้องการขายึดขั้วหลอดไฟเพียงแค่ 2 ชิ้น แต่ขายึดหลอดฟลูออเรสเซนต์เดิมมี 3 ขา ดังนั้น เราจะถอดทิ้งไป 1 ขา ไม่เก็บเอาไว้ให้เกะกะในโคมไฟ


ผมเลือกใช้ขั้วหลอดไฟที่เป็นเซรามิคแบบนี้ เพราะที่ตัวขั้วเซรามิค มีการบากร่อง และรูยึดที่เหมาะสม กับงานนี้ เหมาะยังไงเดี๋ยวดูกัน (โคมไฟสำเร็จรูปที่วางขายกัน ก็ใช้ขั้วหลอดเซรามิคแบบนี้แหละ)


ขั้วหลอดเซรามิคอันนี้ ต่อสายไฟด้วยการขันสกรูยึด และมีรูสองรู ไว้สำหรับยึดกับฐาน จะเป็นแผ่นเหล็ก หรืออะไรก็ได้ ตามแต่การออกแบบงานของเรา


ส่วนที่เป็นโลหะนำไฟฟ้าอยู่ลึก มือไม่สัมผัสโดนโดยไม่ตั้งใจ ปลอดภัยแน่ๆ และเซรามิค เป็นฉนวนกันไฟฟ้าที่ดีทีเดียว แม้น้ำหนักจะมากกว่าพลาสติกสักหน่อย


มีร่องบากอยู่ ดังนั้น แผ่นเหล็กที่เราจะนำมายึดเข้ากับขั้วหลอดเซรามิคนี้ จะต้องมีความกว้างที่พอดีกัน ไม่มากเกินไป จะเข้าร่องไม่ได้ เวลายึดสกรูจะไม่แนบสนิท ทำให้ไม่แน่น


แผ่นเหล็กบางๆ ที่ใช้ยึดขั้วหลอดนีออน หรือฟลูออเรสเซนต์ ที่เราเพิ่งจะถอดออกมาจากโคมไฟ


แผ่นเหล็กบางๆ นี้ งอได้ ดัดได้ตามที่เราต้องการ เราจะนำมายึดเข้ากับขั้วหลอดไฟอันใหม่


ดัดให้ตรง แล้วทาบกับขั้วของหลอดไฟดู ว่าพอดีกันหรือไม่ ปรากฏว่าเป๊ะแบบไม่ต้องขัด ไม่ต้องเกลา ดัดแปลงอะไรเลย


ลองกะระยะ ความห่างระหว่างหลอดไฟ กับตัวโคมไฟดู ก็จะได้ความสูงอย่างที่เห็น ผมลองกะความสูง กับหลอดไฟ LED 9 วัตต์ ที่จะใช้งาน และเผื่อไว้อีกเล็กน้อย กะไม่ให้หลอดชนกับโคมไฟ แต่ความจริงแล้ว ขาโลหะแบบนี้ เราจะงอ เพื่อหลบหลีกได้อีกเล็กน้อย หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว


ทดสอบแล้ว พอใจที่ระยะห่าง หรือความสูงประมาณนี้


เราจะต้องใช้น็อต หรือสกรูหัวแบน ยึดขั้วหลอดเข้ากันแผ่นเหล็ก จากด้านใน ดังนั้น น็อต หรือสกรูจะต้องไม่ยาวจนเกินไป


ค้นในกล่องเครื่องมือ ได้น็อต กับสกรูเกลียวปล่อยมาอย่างที่เห็น มีน็อตอยู่แค่ชุดเดียว แต่สกรูเกลียวปล่อยตัวเล็กๆ แบบนี้ ก็ใช้กับงานนี้ได้เหมาะสมดี


สกรูเกลียวปล่อยยาวออกมาขนาดนี้ เพียงพอต่อการยึดติดกับแผ่นเหล็กที่เรามี อย่างแน่นหนา


ความยาวของน็อตก็พอดี ต่อการใช้งาน แต่เสียดายที่มีอยู่เพียงชุดเดียว ต้องหันกลับไปใช้สกรูเกลียวปล่อย


ทาบแผ่นเหล็ก ที่จะใช้ยึดขั้วหลอด กับตัวโคมไฟ ลงบนขั้วหลอดไฟอีกครั้ง แล้วใช้ดินสอ ทำเครื่องหมาย ตำแหน่งที่จะเจาะรู โดยสอดดินสอเข้าทางปากของขั้วหลอดไฟ


แผ่นเหล็กบางๆ สำหรับยึดขั้วหลอดไฟ หลังจากทำเครื่องหมายด้วยดินสอแล้ว


ใช้เหล็กนำ ตอกเพื่อให้เกิดเป็นร่อง ในตำแหน่งที่ต้องการเจาะ ดอกสว่านจะได้ไม่ดิ้นหนีตำแหน่ง


เนื่องจากเราจะยึดแผ่นเหล็กด้วยสกรูเกลียวปล่อย ไม่ใช่น็อตร้อยผ่าน ดังนั้น รูที่เราต้องการ จะต้องเล็กกว่าตัวสกรูเกลียวปล่อย แต่ถ้าเราใช้น็อตร้อย จะต้องเจาะรูให้พอดี หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย วัตถุประสงค์แตกต่างกัน ต้องพิจารณาให้ดี ก่อนจะลงมือเจาะรู ถ้าพลาดจะเสียหายได้


ยึดแผ่นเหล็ก ที่เจาะรูเสร็จเรียบร้อยแล้ว เข้ากับขั้วหลอดไฟ ด้วยสกรูเกลียวปล่อย ที่เตรียมเอาไว้ให้แน่นหนา


ยึดขั้วหลอดไฟได้แน่นหนาดี แต่ปลายสกรูแหลมๆ แบบนี้ ไม่ค่อยจะดีเลย ต้องแก้ไข


นำเอาตะไบมาถู มาฝนให้ปลายสกรูเกลียวปล่อย ที่แหลมๆ แบบนั้นให้ทู่ลง จะได้ไม่เกี่ยวถูกมือ จนได้เลือดได้แผล ส่วนปลายของแผ่นเหล็กที่เกินมา เราพับให้แนบไปกับขั้วหลอดได้เลย


ใช้สายไฟต่อกับขั้วหลอดไฟเตรียมเอาไว้ จะใช้สายอ่อน หรือสายแข็งก็ไม่เกี่ยง ขนาดที่ใช้ 0.5 sqm ก็เพียงพอแล้ว สำหรับหลอดประหยัดไฟสมัยนี้ บิ๊กสโตร์ทั้งหลายก็มีแบ่งขายเป็นเมตร


เราต่อสายไฟไว้เพียงขั้วเดียวก็พอแล้ว ไม่ต้องต่อคู่ ให้มีสายไฟเกะกะในโคมไฟโดยไม่จำเป็น


ติดตั้งเข้ากับโคมไฟ ในตำแหน่งเดิม ที่ขายึดหลอดฟลูออเรสเซนต์เคยอยู่ เพราะน็อตตัวผู้เราไม่ได้ถอดออกมาด้วย จากนั้นไขน็อตตัวเมียให้แน่น โดยหันขั้วหลอดไฟ ในมีตำแหน่งอย่างในภาพ


ขั้วหลอดไฟเซรามิค ถูกติดตั้งใส่เข้าไปในโคมไฟเรียบร้อย หน้าตาจะเป็นแบบนี้


จากนั้นต่อสายไฟ เข้ากับขั้วหลอดไฟ ที่เหลือทั้งหมด ให้เรียบร้อย โดยสายไฟเข้า จะต่อเข้ากับขั้วหลอดที่เหลือ และนำเอาสายไฟ จากขั้วหลอดที่เตาเตรียมไว้แล้ว มาเสียบรวมกัน แล้วไขสกรูยึดสายไฟให้แน่นหนา


ต่อสายไฟที่เหลือแบบนี้นะ สายไฟเข้า กับสายไฟจากขั้วหลอดอีกตัวนึง


ภาพโดยรวมแบบใกล้ ของขั้วหลอดไฟ ที่ต่อสายไฟทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว โคมไฟเราโล่งไปเลย เห็นไหม มีเพียงแค่สายไฟไม่กี่เส้นเอง


เปิดเบรคเกอร์ ใส่หลอดไฟ แล้วเปิดสวิทช์ได้เลย หลอดไฟก็จะติดอย่างที่เห็น ใส่หลอดเดียวก็สว่างได้


ขั้วหลอดไฟแบบนี้ ทำให้เรามีตัวเลือก จะใช้หลอดไฟต่างชนิด ต่างกำลังวัตต์ ก็ใช้งานได้ไม่มีปัญหา



ใช้หลอดไฟกำลังวัตต์ไม่เท่ากัน แบบแก้ขัด หลอดใหม่ยังไม่ได้ซื้อมา ก็ไม่มีปัญหา


ใช้หลอดไฟต่างชนิดกัน มีทั้งหลอดประหยัดไฟ และหลอด LED ใช้ร่วมกันได้ ไม่มีปัญหาอีกเช่นกัน


ทำเสร็จก็ปิดครอบโคมไฟให้เรียบร้อย เป็นอันจบงาน สำหรับวันนี้แล้ว


การปรับปรุง ดัดแปลงโคมไฟเก่า ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินเพิ่มในการเปลี่ยนโคมไฟทั้งชุด เพื่อจะมาใช้หลอดประหยัดไฟ หรือหลอด LED ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่คุณภาพดีขึ้น ใช้งานได้ยาวนาน ประหยัดไฟกว่าหลอดแบบเดิมมากๆ ความร้อนน้อยกว่าด้วย ใครที่อยากเปลี่ยนมาใช้หลอด LED อ่านบทความนี้จบแล้ว ลองพิจารณากันดูครับ
งานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า

หัวแปลงปลั๊กไฟ ปลั๊กแปลงขา ตัดสินใจให้ดีก่อนการเลือกซื้อ
หัวแปลงปลั๊กไฟ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป และเชื่อได้ว่าในแต่ละบ้าน ต้องมีติดเอาไว้ด้วย อย่างน้อยที่สุด ก็เอาไว้แปลงหัวปลั๊กสามขา เป็นสองขา ซึ่งหลายคนยังใช้งานกันเป็นประจำในแต่ละวัน แต่บ้านที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ อาจจะไม่จำเป็น ...


ปลั๊กไฟเสีย ผิดปกติ อย่าคิดใช้งาน
ปลั๊กไฟที่เราใช้งานตามปกติทุกๆวัน ถ้าหากพบว่ามีความผิดปกติ เกิดขึ้น ทั้งรอยแตก รอยหัก ขาปลั๊กยุบ ควรหลีกเลี่ยง อย่านำไปใช้งานเด็ดขาด ถ้าเรามีความรู้ สามารถแก้ไขได้เองก็ควรรีบทำ ...


วิธีล้างพัดลมโดยไม่ต้องถอด ฉีดน้ำล้างทำได้ไหม?
มีบางคนอยากจะลอง อยากจะใช้ชีวิตให้มันง่ายขึ้น โดยมองหา วิธีล้างพัดลมโดยไม่ต้องถอด ไม่ถอดใบพัด ไม่ถอดชิ้นส่วนใดๆ แต่อยากจะให้สะอาดเหมือนกับถอดมาล้างด้วยน้ำ หรือฉีดน้ำล้าง ทำความสะอาดเหมือนปกติ เจอคำถามนี้เข้าไปถึงกับทำให้ผมอึ้งไปสักครู่เลยทีเดียววิธีล้างพัดลมโดยไม่ต้องถอด ...


ดูแลรักษาแม่กุญแจด้วยน้ำมันเอนกประสงค์
บทความก่อนหน้านี้เคยพูดถึงการดูแลรักษาแม่กุญแจด้วยการใส่จารบีมาแล้ว แต่วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องการดูแลด้วยการหยอด หรือฉีดน้ำมันกันบ้าง ซึ่งขอเลือกเป็นน้ำมันเอนกประสงค์ที่แต่ละบ้าน ในปัจจุบัน จะรู้จัก คุ้นเคยกันพอสมควรแล้ว เชื่อว่า น่าจะมีกันแทบทุกบ้านด้วยแน่นอน ไม่ว่ายี่ห้ออะไร ...


วิธีตัดยางรถยนต์ ล้อยางเก่า นำมาตัดวงล้อ ด้วยมีดคัทเตอร์ เป็นกระบะปลูกผัก ไม่กลับยาง ไม่ยาก
วิธีตัดยางรถยนต์ ยางล้อรถเก่า ที่เก็บกลับมาหลังจากการเปลี่ยนยางเส้นใหม่ ถูกนำกลับมาใช้เป็นกระบะปลูกผัก ที่เห็นได้ทั่วไป ทั้งในเว็บไซต์ และ youtube แต่หลายคนบอกว่า ตัดยาก ...


ท่อค้ำกล้วย ใช้ของที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
เรื่องราวที่จะบอกเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องงานช่างตรงๆ แต่เป็นเรื่องของกล้วย ที่บางทีก็ไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ ยิ่งกล้วยต้นสูงๆ ยิ่งต้องระวังลำต้นหัก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ลมในช่วงที่ฝนกำลังจะตก ก็ทำให้ลำต้นของกล้วยที่กำลังออกเครืออยู่หักลงมาได้แล้ว นี่ขนาดปลูกอยู่ภายในรั้วบ้าน ...


ท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างจาน ทำไมต้องงอขดไปมา
ท่อน้ำทิ้ง อ่างล้างจาน ในบทความก่อนหน้านี้ ตู้ซิ้งค์ ตู้ใต้อ่างล้างจาน กลิ่นแมลงสาบมาได้ไง ผมได้บอกเอาไว้ว่า ท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างจาน ผมเลือกเอาแบบที่มีความโค้งงอไปมาให้น้อยที่สุด เพื่อจะระบายน้ำออกจากอ่างล้างจานให้เร็วที่สุด ...


ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ ไหลช้า เพราะฝาครอบกันกลิ่น
ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ ถ้าต้องไปเดินเลือกซื้อฝาท่อระบายน้ำ ในซุปเปอร์สโตร์ติดแอร์ทั้งหลาย จะเห็นว่าฝาท่อระบายน้ำในห้องน้ำที่วางขายกันมีแต่ฝาท่อระบายน้ำ ที่มีระบบกันกลิ่น ย้อนกลับเข้ามาในห้องน้ำด้วยแทบทั้งนั้น ฝาท่อระบายน้ำแบบดั้งเดิม ที่เป็นแผ่นสแตนเลสเจาะรู หลายๆ รู ...


ซ่อมกระทะไฟฟ้า กับปัญหาที่บานปลาย สกรูขาดคารู เรื่องนี้ขอบ่น (อย่าทำเรื่องง่ายให้ยากเลย)
วันนี้ขอเป็นเรื่องเล่า เล่าเรื่องให้ฟังกันแบบสั้นๆ ง่ายๆ ไม่ลงลึกถึงงานช่างอะไรมากมาย เพราะปัญหาของกระทะไฟฟ้า ซ่อมกระทะไฟฟ้า ที่ต้องการแก้ไขมันช่างเล็กน้อยเสียเหลือเกิน แต่จากการใช้ความคิดที่มากเกินพอดีไป ปัญหาก็เลยบานปลาย จากการแก้ไขที่ควรจะใช้เวลาแค่ ...
กาต้มน้ำเดือดทำปลั๊กพ่วงเสียบ่อยมาก มีสาเหตุและแก้ไขยังไงครับ? – จาก pantip
คำถามนี้ผมนำมาจากเว็บ pantip ซึ่งเป็นกระทู้เก่า พออ่านแล้วมันตรงกับใจ สิ่งที่อยากบอก อยากจะเตือน คิดจะเขียน พูดถึงกาต้มน้ำร้อนไฟฟ้า แบบนี้อยู่พอดี แต่ไม่มีเคส ...


รีวิว พัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่นใหม่ D16A-GB กับ วิธีประกอบพัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi
พัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่นใหม่ D16A-GB มีดียังไง แต่ก่อนจะเริ่มรีวิว และ วิธีประกอบพัดลมตั้งโต๊ะ Mitsubishi รุ่น ...


วิธีประกอบพัดลมติดผนัง และรีวิว พัดลมติดผนัง Sharp รุ่น PJ-WA163
วิธีประกอบพัดลมติดผนัง พร้อมกับการรีวิว แต่ถ้ารีวิวแล้วไม่ใส่ชื่อรุ่น เดี๋ยวจะต้องมีคนสงสัย แล้วถามมาอีกแน่ๆ ว่ารุ่นอะไร เลยต้องรีบบอกก่อน และรีวิวนี้ เป็นการรีวิวที่จ่ายเงินเอง ...


วิธีใช้ไม้วัดระยะลึก หรือแท่งวัดความลึกของสว่านไฟฟ้า
วันนี้ขอพูดถึงอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่มักจะแถมมาพร้อมๆ กับสว่านไฟฟ้าเสมอๆ แต่ว่าเรามักจะไม่ค่อยได้นำมาใช้งานกัน นั่นก็คือ ไม้วัดระยะความลึก หรือก้านวัดระยะ หรือแท่งวัดระยะ จะเรียกยังไงก็ตาม บางคนก็ไม่รู้ว่าจะนำมาใช้งานยังไง หรือบางคนก็เลือกที่จะไม่ใช้ ...


วิธีขูดร่องยาแนวเก่า ด้วยใบเลื่อยโลหะ
การปูกระเบื้องโดยทั่วไป ไม่ว่าพื้นห้องน้ำ พื้นครัว หรือพื้นบ้านส่วนอื่นๆก็ตาม หลังจากที่ช่างได้ปูกระเบื้อง และทิ้งไว้จนแห้งแล้ว จะต้องลงยาแนวด้วย ยาแนวในศัพท์ทางช่าง จะหมายถึงการอุดช่องว่างระหว่างแผ่นกระเบื้องด้วยผงยาแนว หรือปูนยาแนว ...